วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประกาศรางวัล ผู้ชนะเลิศ จากการประกวด Decklist สุดยอดในใจฉัน ครั้งที่ 1

ผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ คุณ Rajchaphruek Malakum (ชื่อจากเฟสบุ้ค)


แคลน : นารุคามิ
ชื่อเด็ค : Thunderbolts of Victory!!
เกรด 0 (17 ใบ)
-                   ลิซาร์ดโซลเยอร์,ไซชิน x1  (เฟิร์สแวนการ์ด)
-                   โอลด์  ดราก้อนเมจ x4 (ดรอว)
-                   นางไม้มังกรปีศาจ,เซโอโบ x4  (ฮิล)
-                   จิน  ผู้ชั่วร้าย x4  (คริติคอล)
-                   เยลโล่ว์เจม  คาร์บังเคิล x4  (คริติคอล)
เกรด 1 (14 ใบ)
-                   เรดริเวอร์  ดรากูน x4
-                   ไวเวิร์นการ์ด,กัลด์ x4 (PG)
-                   ดีเซิทกันเนอร์,ไรเอน x3
-                   โฟตอน  บอมเบอร์  ไวเวิร์น x3
เกรด 2 (11 ใบ)
-                   ธันเดอร์สตอร์ม  ดรากูน x3
-                   มังกรปีศาจผู้บ้าคลั่ง,การูด้า x3
-                   ดราโกนิค  เดธไซส์ x3
-                   ไวเวิร์นปืนเวทมนต์ต้องคำสาป x2
เกรด 3 (8 ใบ)
-                   ดราโกนิค  ไคเซอร์  เวอมิลเลี่ยน x4
-                   ลำแสงสายฟ้า  จิน x3
-                   ทันเดอร์เบรก  ดราก้อน x1

แนวทางการเล่น :
 ในความคิดที่ผมทำเด็คนี้ขึ้นมานะครับ  ผมดูจากจุดเด่นของนารุคามิก่อน  นั่นคือการตัดเกมฝ่ายตรงข้าม!! ซึ่งที่ผมใส่ไซชินเป็นตัวเริ่มเพราะเขาสามารถกดดันเกมตั้งแต่ต้นๆ  ถึงเกรด 0 ของฝ่ายตรงข้ามจะไม่สามารถถอยหลังได้   แต่ไซชินก็ยังเป็นตัวบูสที่ดีในระดับหนึ่งอีกด้วย  ต่อมาเด็คนี้มีความพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่ผมมองเห็น  คือการเพิ่มพลังตัวเองอย่างง่ายๆ  ทั้ง ไวเวิร์นปืนเวทมนต์ต้องคำสาป  ลำแสงสายฟ้า  จิน  เป็นต้น ยูนิตที่กล่าวมานี้ มีเงื่อนไขในการเพิ่มพลังตัวเองที่ง่ายมากๆ ถึงเราไม่มีตัวต่อบูสข้างหลัง ก็ยังสามารถตีแวนของอีกฝ่ายเพื่อให้เขาต้องจำใจการ์ดอยู่ดี  และสุดท้าย  ตัวบอสของเด็ค  ดราโกนิค  ไคเซอร์  เวอมิลเลี่ยน  ถือว่าเก่งมากๆ  ยืนก็เก่ง  สกิลก็ดีมาก  อย่างน้อยเราก็สามารถกวาดเรียอีกฝ่ายได้ในครั้งเดียว  ถึงเขาจะรับมือเราเทิร์นนี้ได้  แต่เทิร์นต่อไปเขาก็ต้องคิดหนักที่จะลงยูนิตมาตีหรือเก็บไว้การ์ดนั่นเอง  ยังมียูนิตมาช่วยทำลายเรียอีกอย่าง  เดธไซส์ และ ทันเดอร์เบรก  ทำให้เป็นอะไรที่กดดันอีกฝ่ายมากๆ ก่อนอื่นแนะนำให้เปิดเกมด้วยการใช้ไซชินต่อหลังการูด้าเพื่อเป็นการกดดันตอนต้นเกมก่อนครับ  พอปลายๆเกมเราก็ใช้เอสการ์ดเวอร์มิลเลี่ยน LB4 ใส่แถวหน้า  เป็นFinal Turn อย่างหล่อๆครับ 
ข้อดีของเด็คนี้ :
            ต่อเกมเป็นระบบได้ง่าย  ทำลายเรียที่สำคัญของอีกฝ่ายได้มากพอสมควรทีเดียว  แวนการ์ดเรายืนพื้นดีตีแรง  สามารถรับมือกับเด็คที่ยืน 11k ได้ดี  ต่อบูสง่ายยิ่งถ้าเจอพวกที่ยืนด้วย 10k ละก็อาจมีการปาดเงื่อเลยทีเดียว

ข้อด้อยของเด็คนี้ :
            มือในการการ์ดเป็นสิ่งสำคัญนี่คือจุดอ่อนของเรา  เราอย่าใจร้อนในการเล่น  ค่อยๆต่อเกม  ประคองไว้เพื่อที่เราจะไม่เปิดช่องโหว่เรื่องไม่มีมือป้องกันหรือตัวต่อเกมนั่นเอง

            โดยภาครวมแล้วผมคิดว่าเด็คที่ผมสร้างขึ้นมาจากความคิดของผมนั้น  เป็นเด็คที่เน้นตัดเกมตั้งแต่ต้นและกระหน่ำโจมตีตอนปิดเกม  ผมคิดว่าทุกเด็คและการ์ดทุกใบมีจุดเด่นในตัวเอง  ไม่เกี่ยวว่าจะเป็น c หรือ rrr  การ์ดทุกใบสามารถช่วยเราได้  ขึ้นอยู่ว่าเราจะเอามาใช้ยังไง  ขอให้มีความสุขกับการเล่นนะครับ  Stand Up Vangard !!!  

Comment จากพี่ชิน
     ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีด้วยกับผู้ชนะเลิศในการแข่งคราวนี้ก่อนนะครับ เขียนเด็คมาได้ดีพอสมควรเลย ความสมดุลอยู่ในระดับที่ดี การอธิบายก็ละเอียดชัดเจนดีครับ

   ก่อนอื่นคงต้องขออธิบายก่อนว่า เพราะอะไร? เด็คลิสนี้ถึงได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการให้ชนะเลิศ คณะกรรมการจะใช้เกณฑ์การตัดสินจาก ความคิดสร้างสรรค์ ความมดุลของเด็ค และความเก่งเป็นหลัก เด็คลิสที่เลือกให้ชนะจะต้องมีโอกาศนำไปใช้ในการแข่งขันจริงแล้วมีเปอร์เซ็นต์ในการเอาชนะที่สูงด้วย เป็นหลักครับ
   
เหตุผลหลักที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
  1. เด็คนี้ที่มีดราโกนิคไคเซอร์ เวอร์มิลเลี่ยน ยินด้วยพลัง 11000 นั้น ทำให้ได้เปรียบในการตั้งรับพอสมควร ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามต่อพลังไม่ดี ต่อไม่ถึง 21000 ฝ่ายเราจะป้องกันได้ง่ายขึ้น
  2. เลือกใช้ทริคเกอร์ได้เหมาะสม เพราะในกรณีที่เราใข้ LB4 ของ เวอร์มิลเลี่ยน ถ้าเราเอา R โจมตีไปก่อน ฝ่ายตรงข้ามคงจะเลือกที่จะนำยูนิตมา อินเตอร์เซป แน่นอนอยู่แล้ว ทำให้การเลือกใช้คริและดรอว เป็นตัวเลือกที่ดี
  3. ในแง่ของการเล่นที่กรณี เกรด 3 ตัวหลักไม่ขึ้น เรายังสามารถเลือกใช้เกรด 3 ใบอื่น ลงช่อง VC ได้ เพราะ เกรด 3 ใบอื่น ทั้ง  ลำแสงสายฟ้า  จิน และ ทันเดอร์เบรก  ดราก้อน สามารถยิน VC แล้วต่อพลังได้ง่ายเช่นเดียวกัน 
  4. ถึงตัวเด็คจะใช้เคาเตอร์บลาสจำนวนมาก แต่ก็มีการนำตัวช่วยหงายดาเมจ มังกรปีศาจผู้บ้าคลั่ง,การูด้า เข้ามาเสริมทัพ เพื่อช่วยหงายดาเมจ และ ยังช่วงกดดันฝ่ายตรงข้ามให้ต้องป้องกันได้อีกด้วย
  5. ในแง่กับการต่อกรเด็คที่เป็นครอสไรด์ เช่น แคลน ชาโดว ในปัจจุบัน สามารถทำได้ดี เพราะถ้าไม่นับ เวอร์มิลเลี่ยน เกรด 3 ตัวอื่น สามารถต่อพลังถึง 23000 ได้
  6. ถึงพลังช่อง R จะต่อได้ไม่เกิน 20000 แต่สามารถทดแทนด้วยการตัดเกมฝ่ายตรงข้าม ก็นับว่าสมดุลครับ อีกอย่างมีคริเยอะ โยน พลัง + คริ ให้ R ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องป้องกันอยู่ดี
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลหลักที่เด็คลิสนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศครับ ขอแสดงความยินดีด้วยคร้าบ
สำหรับคนที่ได้รับรางวัลไม่ต้องเสียใจนะครับ ใครที่พลาดโอกาศนี้ คราวหน้ามาร่วมสนุกกันอีกนะครับ จะได้เพิ่มทักษะการจัดเด็คของตัวเราเองอีกด้วย

สำหรับผู้ที่ส่งผลงานมา สามารถติดต่อผ่านกล่องข้อความ ให้พี่ชินคอมเม้น เด็คลิสที่ส่งมาให้เพิ่มเติมได้ครับ ว่าควรปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ดีขึ้น จะพยายาม ทยอยๆ ตอบจ้า
        

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิเคราะห์บทบาทแคลน เมก้าโคโลนี่ ใน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 2

     สวัสดีคร้าบ กลับมาพบกับบทความสนุกๆ ของพี่ชินอีกเหมือนเคยนะครับผม โดยในวันนี้จะเป็นการวิเคราะห์ เจาะตื้น เอ้ย เจาะลึก เกี่ยวกับแคลน เมก้าโคโลนี่ ที่เป็นแคลนเกี่ยวกับแมลง นั่นเองจ้า ว่ามีความสำคัญ บทบาท และ แนวทางการเล่นสายต่างๆ อย่างไรบ้างครับ


     สำหรับแคลน เมก้าโคโลนี่ นั้นจะเป็นแคลนที่มียูนิตเป็นแมลงทั้งหมด เหมารวมหมดไม่ว่าจะเป็น แมง หรือ แมลง นั่นเอง โดยรูปแบบการเล่นหลักๆ ของแคลนนี้ จะเป็นการใช้สกิล ในการทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถแสตนได้ในช่วงแตนเฟสนั่นเอง (แต่ยังได้รับผมจากแสตนทริคเกอร์ หรือ สกิลที่ทำให้แสตนตามปกติ) ดังนั้นรูปแบบการเล่นจะเป็นสายที่คอยควบคุม หรือ ตัดเกม ฝ่ายตรงข้ามให้ช้าลง และทำให้เราสามารถบุกได้ง่ายขึ้นนั่นเอง


     สำหรับผู้ที่เล่นแคลนนี้ใน ภาค1 คนใช้คือ Osamu Kishida ที่โผล่มาในช่วงต้น ถึง กลางเรื่อง ก่อนที่จะโดนตัดบทไป และ พอเข้าภาค 2 ก็จะมีผู้เล่นอีกคนมาใช้แทน ซึ่งก็คือ Kyou Yahagi ผู้ทีเคยเป็นอดีตลูกทีมของทีเร็นนั่นเอง (แต่เหมือนตัวแถมเสียมากกว่า) โดย Kyou Yahagi นั้นในภาค 2 ใช้ถึง 2 แคลนด้วยกัน โดยใช้แคลน สไปค์ บราเธอร์ส ก่อน(แพ้ ไค) จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ เมก้าโคโลนี่ (แพ้ Leon) ซึ่งบทบาทก็กลายเป็นตัวโชวเด็ค ขายของให้กับบูชิโร้ด หรือ มาฮาปล่อยมุขเสียมากกว่า เรียกว่าบทบาทต่างจากภาค 1 ไปเลยก็ว่าได้

สำหรับชุดการ์ดต่างๆ ที่มีแคลน เมก้าโคโลนี่ มีดังนี้คร้าบ (ณ ตุลาคม 2014)

Sets containing Megacolony cards

Booster Sets:

Extra Boosters:

Fighter's Collection:

จะเห็นได้ว่าแคลนนี้ นานๆ มาทีจริงๆ ออกมาแค่ภาคละ 1 ชุด เท่านั้นเองโดยประมาณ แต่ออกมาทีก็เก่งทีครับ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงภาค3 ที่เก่งแบบใจร้ายเลยจริงๆ

     ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าครับว่าแคลนนี้มีสายการเล่นเด่นๆ อะไรบ้าง

     สาย กิราฟ่า (BT04)
     สไตล์การเล่นยุคแรกๆ ของแคลนเมก้าโคโลนี่ โดยสายนี้จะเน้นหนักไปที่การใช้ กิราฟ่า ที่เป็นการไรด์ตามลำดับเกรดไปเรื่อยๆ โดยถ้าสามารถไรด์ร่างเกรด 2 ได้แล้วล่ะก็จะสามารถยืนด้วยพลัง 11000 ได้ นอกจากนี้ตัวกิราฟ่าเองก็กดดันฝ่ายตรงข้ามได้ดีด้วยสกิลของตัวมันเอง เพราะถ้าเกิดตีฮิทขึ้นมา หมายความว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องเสียยูนิตไปถึง 2 ตัวด้วยกัน บวกกับความสามารถในการห้ามแสตนของยูนิตอื่นๆ ทำให้กดดันฝ่ายตรงข้ามได้มากๆ ข้อเสียอาจจะมีตรงที่สายนี้ต่อพลังในช่อง RC ลำบากหน่อย อีกทั้งตัวต่อบูสให้แวนโดยเฉพาะต้องบังคับให้ฝ่ายตงข้ามอยู่ในลักษณะเรสหมด ดังนั้นถ้าฝ่ายตรงข้ามรับมือโดยการเหลือยูนิตแสตนไว้ซักตัวทางเราก็จะใช้สกิลบูสไม่ติดนั่นเอง

     สาย แมชชีนนิ่ง สแต็กบีทเทิ้ล (EB01)
     สายอีกสายหนึ่งที่มีความน่าเล่นสูงของแคลนนี้ โดยสายนี้จะเน้นการใช้ยูนิตที่มีติดชื่อ แมชชีนนิ่ง ในการเล่นเป็นหลักนั่นเอง โดยสไตล์การเล่นของสายนี้จะเน้นปั้มพลังสูงๆ + กับการเรียกพวกออกมาจากโซลด้วยสกิลของ สแต็กบีทเทิ้ล นั่นเอง แถมตัว เกรด 1 และ 2 ของสายนี้ก็สามารถเร่งพลังได้มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นสายที่เน้นตีแรงๆ นั่นเอง อีกทั้งพอนำไปเสริมด้วยยูนิตที่มีความสามารถในการห้ามแสตนก็จะเห็นผลได้อีกมาก เพราะยูนิตตระกูล แมชชีนนิ่ง นั้นไม่ต้องใช้เคาเตอร์บลาสเลย ทำให้เล่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว รุนแรง และกดดันฝ่ายตรงข้ามได้ดีมากๆ ครับ โดยรวมเป็นอีกสายหนึ่งที่น่าเล่น และพอขึ้นภาค 3 ก็จะมียูนิตตระกูล แมชชีนนิ่ง ออกมาอีกเพียบ ทำให้สายนี้เก่งมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

   
     สาย Martial Arts, Master Beetle (EB03)
     เด็คสาย Master Beetle โดยจะเน้นใช้สกิล LB4 ของ Master Beetle ที่จับห้ามแสตนทีเดียวถึง 2 ตัว อีกทั้งยังยืนด้วยพลัง 11000 โดยไม่ต้องพึ่งร่างเกรด 2 หรือ อื่นๆ แต่อย่างใด ทำให้เป็นยูนิตที่เก่งทั้งรุกและรับมากๆ เสียดายที่สกิล LB4 ของ Master Beetle นั้นกินเคาเตอร์บลาสมากถึง 3 ทำให้โอกาศใช้ในการเล่นต่อเกมเต็มที่ก็ 1-2 ครั้ง ดังนั้นในการใช้ก็จำเป็นจะต้องคิดให้ดีก่อนว่าจะใช้ใส่ยูนิตไหน ที่แนะนำก็คงจะเป็นใช้กิลใส่พวกเกรด 3 ที่ตีหนักๆ ในช่อง RC หรือจะใช้ใส่ตัวต่อบูสหลัง VC ของฝ่ายตรงข้ามก็ได้ ในเทิร์นหน้าฝ่ายตรงข้ามจะได้ตีเบาๆ หน่อย ยูนิตสายนี้สามารถนำไปผสมกับสาย แมชชีนนิ่งจาก EB01 ก็ยังได้ เพราะตัวสายแมชชีนนิ่งไม่กินเคาเตอร์บลาสอยู่แล้ว หรือ จะประยุกต์กับการ์ดอื่นๆ ก็ตามสะดวก เพราะตัว Master Beetle นั้นอยู่ได้ทุกสายอยู่แล้วนั่นเอง

     ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นสายต่างๆ ของ แคลนเมก้าโคโลนี่ในภาค 1-2 ครับ ต้องยอมรับว่าของออกมาน้อยจริงๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่ขึ้นภาค 3 รับรองเก่งแน่นอนครับ จับห้ามแสตนทีทั้งสนาม น่ากลัวมาก = = ใครที่อยากจะใช้เมก้าเก่งๆ แนะนำรอภาค 3 จ้า

ขอบคุณที่อ่านคร้าบ
พี่ชิน

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์ ต่างๆในแวนการ์ด(เพิ่ม Stride แบบสมบูรณ์) เครดิต : จืดจาง ยิ่งกว่า อัคคาริน

คำศัพท์ ต่างๆในแวนการ์ด(เพิ่ม Stride แบบสมบูรณ์)

Card Mechanic

Vanguard [VG](แวนการ์ด)
- ตัวยืนหลักกลางสนาม เสมือนตัวแทนของเราบนดาวเครย์
Rearguard [RG](เรียการ์ด)
- ตัวสนับสนุนเราในสนาม

Vanguard Circle [VC]
- ช่องแวนการ์ด
Rearguard Circle [RC]
- ช่องเรียการ์ด
Guardian Circle [GC](การ์เดี้ยนเซอร์เคิล)
- ช่องในการการ์ด/ป้องกันสำหรับนำการ์ดที่มีแถบพลังป้องกันจากมือ(หรือจากสนามที่มีสกิล Intercept) มาช่วยป้องกันการโจมตี

Drop Zone [DZ](ดรอปโซน)
- เหมือนสุสาน, หลุม สำหรับวางการ์ดที่หมดสภาพแล้ว ถูกโม่ ถูกทิ้ง ถูกลงทับ

Bind Zone [BZ](ไบน์โซน)
- เหมือนเป็นโซนเฉพาะ ที่อยู่นอกเหนือเด็ค ดรอปโซน มือ (คล้ายๆออกนอกเกม)

Turn (เทิร์น)
- 1 รอบการเล่น จะสิ้นสุดเมื่อประกาศ Turn End/จบเทิร์น แล้วจะผลัดให้อีกฝ่ายเล่นต่อ

Grade [G](เกรด)
- ตัวเลขซ้ายบนของการ์ดแวนการ์ด ระบุเกรดของการ์ด เช่น G0 G1 G2 G3 G4

First Vanguard [FVG]
- ยูนิทเกรด 0 ที่เลือกจากเด็คไปแทนตัวเรา คว่ำไว้บนสนามจนกว่าจะเริ่มการเล่น

Stand up, Vanguard!
- คำพูดเริ่มต้นเล่น โดยหงายแวนการ์ดที่คว่ำไว้บนช่อง

Trigger (ทริกเกอร์)
- สัญลักษณ์ขวาบนของทริกเกอร์ยูนิท มีผลเมื่อทำการเช็ค ซึ่งจะมีในการ์ดที่แถบล่างเป็นสีเหลืองเท่านั้น

Power (พลัง)
- พลังของยูนิทนั้นๆ เป็นตัวเลขอยู่บริเวณด้านล่างซ้ายของการ์ด

Critical (คริติคอล)
- เป็นตัวเลขอยู่บริเวณด้านล่าง ตรงกลางของการ์ด ด้านซ้ายจะมีรูปกงจักรสัญลักษณ์ประกอบ- หากยูนิทโจมตีใส่แวนการ์ดฮิท แวนการ์ดที่โดนโจมตีฮิทจะต้องดาเมจเช็คตามจำนวนคริติคอล

Boost (บูสต์)
- สกิลของยูนิทเกรด 0-1 เมื่อจับวางนอนระหว่างที่ตัวข้างหน้ามันโจมตี จะเพิ่มพลังให้ตัวข้างหน้าเท่ากับค่าพลังของตัวบูสต์

Stand (สแตนด์)
- นำยูนิทที่อยู่ในแนวนอน หงายหน้า เปลี่ยนเป็น แนวตั้ง หงายหน้า

Rest (เรสต์)
- นำยูนิทที่อยู่แนวตั้ง หงายหน้า เปลี่ยนเป็น แนวนอน หงายหน้าShield (ค่าพลังป้องกัน) - ตัวเลขที่เขียนไว้แนวนอนของการ์ด เป็นพลังป้องกันของการ์ดใบนั้น

Top Deck (ท็อปเด็ค)
- บนสุดเด็ค

Hit (ฮิท)
- การโจมตีที่สำเร็จ และผ่านเข้าตัวเป้าหมาย(พลังยูนิทที่โจมตี มากกว่าหรือเท่ากับตัวที่โดนโจมตี)

Intercept (อินเตอร์เซป)
- สกิลของ RG ที่เป็น Grade 2 ในช่องซ้ายบนหรือขวาบนเข้าไปวางใน GC เพื่อป้องกันให้ตัวอื่น

Especial Intercept หรือ Superior Intercept
- เมื่อ อินเทอร์เซปให้ยูนิตแคลนเดียวกันแล้ว Shield+5000

Ride (ไรด์)
- ลงการ์ดจากมือที่ Grade มากกว่าหรือเท่ากับแวนกาด ลงช่อง VC
Normal Ride เป็นการไรด์ปกติ ในช่วงไรด์เฟส ทำได้เทิร์นละครั้ง
Superior Ride เป็นการไรด์แบบพิเศษ เกิดตอนไหนของเทิร์นก็ได้ ไรด์จากที่ไหนก็ได้ และเกิดจากเอฟเฟคท์การ์ด

Call (คอล)
- ลงการ์ดจากบนมือลงมายังช่อง RC ทำได้ไม่จำกัดครั้ง
Normal Call เป็นการคอลแบบปกติจากมือ ห้ามคอลยูนิทเกรดที่มากกว่าแวนการ์ดเรา
Superior Call เป็นการคอลแบบพิเศษ จากไหนที่ไหนก็ได้ คอลยูนิทเกรดเท่าไหร่ก็ได้ และเกิดจากเอฟเฟคท์การ์ด

Pioneer (ผู้บุกเบิก)
- เอฟเฟคท์ของยูนิทเกรด 0
"เมื่อถูกยูนิทแคลนเดียวกันไรด์ทับ สามารถนำยูนิทเอฟเฟคท์ Pioneer ออกมาที่ช่อง RC ได้"

Guard (การ์ด/กาด/ป้องกัน)
- การคอลยูนิทจากมือลงมาป้องกันการโจมตีของอีกฝ่าย

Drive Check (ไดร์ฟเช็ค)
- ฝ่ายที่ใช้ Vanguard โจมตี แสดงการ์ดใบบนสุดเด็ค 1 ใบ

Twin Drive (ทวินไดร์ฟ)
- สกิลยูนิท G3,G4  เมื่อเป็นแวนการ์ดแล้วโจมตี เราจะได้ไดร์ฟเช็คได้ 2 ครั้ง (เปิดทีละใบ หากพบ Trigger ในใบแรก ต้องเพิ่มพลังให้้เสร็จก่อนจึงเปิดใบต่อไป)

Damage Check (ดาเมจเช็ค)
- ฝ่ายที่ถูกโจมตีใส่แวนการ์ดแล้วฮิท แสดงการ์ดใบบนสุดเด็คตามค่า Critical ของตัวที่ตีมา แล้วนำใบที่เช็คลงดาเมจโซนทีละใบ

Sentinel (เซ็นติเนล/พิทักษ์)
- เอฟเฟคท์ที่ห้ามใส่การ์ดที่มีเอฟเฟคท์นี้เกิน 4 ใบ (PG,QWทุกใบมีเอฟเฟคท์นี้)

Perfect Guard [PG](เพอเฟ็คท์การ์ด)
- ยูนิทเกรด 1 ที่มี Shield เป็น 0 มีเอฟเฟคท์คือ
"เมื่อใบนี้ถูกคอลลงมาช่อง GC เพื่อการ์ดให้แคลนตัวเองแล้ว ให้ทิ้งการ์ดแคลนเดียวกันจากมือ 1 ใบแล้วการโจมตีนั้นจะไม่ฮิทแน่นอน"
เช่น เทพีแห่งการเสียสละ คุชินาดะ นำการ์ดแคลนเจเนซิส 1ใบในมือทิ้งลงดรอบโซน เมื่อการ์ดใบนี้ถูกคอลลงช่องGC เลือกยูนิตแคลน เจเนซิสที่ถูกโจมตี 1ใบ ยูนิตนั้นจะไม่ถูกฮิทจนจบแบทเทิลนั้น

Quintet Wall [QW](ควินเทตวอลล์)
- ยูนิทเกรด 1 ที่มี Shield เป็น 0 มีเอฟเฟคคือ
"เมื่อถูกคอลลงช่อง GC จากมือ เพื่อการ์ดให้แคลนตัวเองแล้ว CB1 เปิดท็อปเด็ค 5 ใบเพื่อนำลงมาคอลในช่องการ์ดโซนแล้วนำ Shield ทั้งหมดของการ์ดทุกใบมาใช้ในการป้องกัน

Cost (ค่าคอสต์/ค่าใช้จ่าย)
- สิ่งที่อยู่ในวงเล็บ [...] แสดงถึงสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ ก่อนที่จะใช้เอฟเฟคท์ได้

Counter Blast [CB](เค้าเตอร์บลาส)
- ค่าใช้จ่าย(ค่าคอสต์)ในการใช้เอฟเฟคท์ โดยการคว่ำการ์ดในดาเมจโซนเรา

Especial Counter Blast [ECB](เอลสเปลสเชี่ยนเค้าเตอร์บลาส)
- การ CB โดยเจาะจงว่าใบที่คว่ำ ต้องเป็นซับแคลน/ติดชื่อที่กำหนดเท่านั้น
เช่น ผู้นำ อัศวินอัญมณี โซโลเม่ ECB 2(การ์ดที่ตืดชื่อ อัศวินอัญมณี)
นำยูนิตที่ติดชื่อ อัศวินอัญมณี1ใบจากในเดค คอลลงช่องเรียการ์ด
จากนั้นสับเด็ค

Soul (โซล)
- การ์ดที่อยู่ใต้แวนการ์ด

Soul Blast [SB](โซลบลาสต์)
- ค่าคอสต์ในการใช้เอฟเฟคท์ โดยการนำการ์ดที่อยู่ในโซลลงดรอปโซน

Soul Charge [SC](โซลชาร์จ)
- การนำการ์ดบนสุดเด็ค เข้ามาใต้แวนการ์ดเรา (ถ้าเอาจากที่อื่นจะบอกให้เอาเข้าโซลเฉยๆครับ)

Limit Break [LB](ลิมิตเบรก)
- เงื่อนไขการใช้เอฟเฟคท์ ที่จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อดาเมจโซนที่เรามีมากกว่าหรือเท่ากับตัวเลขหลังLB
เช่น LB4 จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อดาเมจโซนของเราเท่ากับหรือมากกว่า 4 และทำตามเงื่อนไขที่กำหนด

Ultimate Break [UB](อัลติเมทเบรก)
- ศัพท์เรียกแทน LB5

Persona Blast [PB](เพอร์โซน่าบลาสต์)
- เอฟเฟคท์ที่สั่งใช้โดยค่าคอสต์ เป็นการทิ้งยูนิทชื่อเดียวกันกับตัวนั้นจากมือลงดรอปโซน อาจมีค่าคอสต์อื่นๆเพิ่มเติมอีก
เช่น มังกรลงทัณฑ์โครมเจลเลอร์ [CB1] นำการ์ดที่ชื่อ มังกรลงทัณฑ์ โคลมเจลเลอร์ 1ใบ
ในมือทิ้งลงดรอปโซน เปิดท็อปเด็ค4ใบและเลือกยูนิตแคลนโกลพาราดิน 2 ใบคอลลงช่องเรียการ์ด

Break Ride [BR](เบรกไรด์)
- เอฟเฟคท์ LB ที่จะเกิดขึ้นเมื่อยูนิตที่มีเอฟเฟคท์นี้ถูกไรด์ทับด้วยยูนิตแคลนเดียวกัน
เช่น ผู้ทำลายล้าง โวอิ้งซอร์ดดราก้อน LB4เมื่อยูนิตนี้ถูกไรท์ทับด้วยยูนิตแคลนนารุคามิเลือกแวนการ์ดของเรา1ใบยูนิตนั้นได้รับ Power+10000 จนจบเทิร์น และเลือกทำลายเรียการ์ดแถวหน้าของอีกฟั่ง1ใบ

Lord (ผู้นำ)
- เอฟเฟคท์ "หากมียูนิตแคลนอื่นบนสนามยูนิตนี้ไม่สามารถโจมตีได้"


Mega Blast [MB](เมก้าบลาสต์)
- เอฟเฟคท์ที่มีค่าคอสต์เป็น CB 5 SB 8
- โดยทุกใบที่มีเอฟเฟคท์นี้ มักจะมีเอฟเฟคท์ เริ่มต้นเมนเฟส SC1 แล้วได้เอฟเฟคท์อื่นพ่วง
เช่น CEO อามาเทราสิ  CB 5 SB 8  เมื่อยูนิตนี้โจมตีฮิท สามารถจ่ายค่าคอสได้หากจ่ายจั่วการ์ด5ใบ

Cross Ride [CR](ครอสไรด์)
- เอฟเฟคท์ [CONT](VC) : เมื่อมียูนิท "(มักจะเป็นร่างก่อนหน้าเกรด3)" อยู่ในโซล +power 2000
- มักใช้เป็นทั้งคำสรรพนาม และกริยาตอนไรด์ทับร่างก่อนหน้า
เช่น สุดยอดหุ่นรบต่างมิติ เกรทไดยูฉะ หากมียูนิตชื่อ " สุดยอดหุ่นรบต่างมิติ ไดยูฉะ" อยุ่ในโซลการ์ดใบนี้ได้รับ Power +2000

Lock (ล็อค)
- คือการเลือกเรียการ์ด1ใบขึ้นไปตามที่สกิลกำหนด แล้วใบที่เลือกคว่ำหน้าลง โดย
"ไม่สามารถกระทำการใดๆกับยูนิตนั้นได้เลย"
*ไม่สามารถ รีไทร์, นำออกนอกสนาม, อินเตอร์เซ็ป และคอลทับ ยูนิทที่โดนล็อคจะถูกหงายหน้าขึ้นมาเมื่อจบเทริน เจ้าของยูนิตนั้น*
*ถือว่าช่องที่ยูนิทนั้นอยู่ ไม่ใช่ช่องเรียการ์ดที่ว่าง*
เช่น สตาร์เวเดอร์ ดาคแบนดราก้อน LB4 ECB1(สตาร์เวเดอร์) เลือกเรียการ์ดที่อยู่แถวหลังของอีกฟั่ง ทำการ"ล็อค"ยูนิตนั้น


Omega Lock (โอเมก้าล็อค)
-คือเอฟเฟคที่ทำให้เรียการ์ดทุกใบขออีกฟั่งที่อยู่ในสภาพ "Lock"  ถูกล็อคเพิ่มไปอีกหนึ่งเทริน ถึงจะปลดล็อคได้ตามปกติ

*การใช้เอฟเฟคปลดล็อคในเมนเฟสสามารถใช้ได้ตามปกติ*

Unlock (อันล็อค)
- เอฟเฟคท์ที่ทำให้ ยูนิตที่ถูก "ล็อค" อยู่ จะกลับเข้าสู่สภาพปกติ(หงายหน้าขึ้นมาในสภาพสแตนด์)
เช่น แซงทั่วรี่ออฟไลท์ ไบรท์เนสดราก้อน CB1 เลือกเรียการ์ดแคลนรอยัลพาราดิน1ใบ ที่ถูกล็อคอยู่ ทำการอันล็อคยูนิตนั้น

Cross Break Ride [CBR](ครอสเบรกไรด์)
- เป็นการไรด์ยูนิทที่มีเอฟเฟคท์CR ลงบนยูนิทที่มีเอฟเฟคท์BR และเป็นร่างก่อนหน้า
เช่น สัตว์เทพที่แข็งแกร่งที่สุด อิติคบลาสเตอร์ เอ็กตรีม เมื่อมียูนิตที่ชื่อ สุดยอดสัตว์เทพ อิติคบลาสเตอร์ อยู่ในโซล ยูนิตนี้ พลัง+2000 (สุดยอดสัตว์เทพอิติคบลาสเตอร์ เป็นเบรคไรท์ ของแคลนโนว่าแกรปเปอร์)

Bind (ไบน์)
- เอฟเฟคท์ที่จะนำการ์ด ไปไว้ในช่องไบน์โซน และการ์ดนั้นจะไม่สามารถใช้การได้ในเทิร์นที่ถูกไบน์ แล้วจะกลับสู่มือเจ้าของตามเอฟเฟค(ยกเว้นสกิลบางใบที่ไม่นำกลับ)
- การไบน์มีทั้งไบน์แบบ หงายหน้า และ คว่ำหน้า
เช่น มังกรชูร่า คาบุคิคอนโก LB4 CB1 เมื่อยูนิตนี้โจมตีแวนการ์ดอีกฝั่ง จ่ายค่าคอส เลือก ไบน์ เรียการ์ดทั้งหมดของอีกฝ่ายที่หงายหน้าทั้งหมด และหากมีการ์ดถูกไบน์3ใบขึ้นไป ยูนิตนี้ได้รับ พลัง+10000 จนจบการต่อสู้ และอีกฝ่ายนำการ์ดทั้งหมดในไบน์โซนที่ถูกไบน์ด้วยเอฟเฟคท์ของการ์ดใบนี้ ขึ้นมือเจ้าของตอนจบเทิร์น


Legion
- เป็นชื่อสถานะของการนำการ์ดคู่กัน 2 ใบ เมื่อบนช่องแวนกาด
- เกิดจากเอฟเฟคท์ ACT โดยมีเงื่อนไขการใช้คือ นำการ์ด 4 ใบในดรอปโซนกลับเข้าเด็ค แล้วนำยูนิทที่กำหนดมาวางไว้ด้านซ้ายแวนการ์ด โดยให้สัญลักษณ์ดาบไขว้สีทองต่อกันพอดี
- การ์ดทั้ง 2 ใบที่อยู่ในสถานะ Legion กัน จะนับรวมเป็นแวนการ์ด อยู่ในช่องแวนการ์ด ตลอดทั้งเกม จนกว่าจะมีการไรด์ทับใหม่
- ยูนิทที่อยู่สถานะ Legion หากโดนไรด์ทับจะกลายเป็นโซลทั้ง 2 ใบ
- ค่าคริติคอลจะนับแค่ของยูนิทด้านขวา
- ในเทิร์นของเรา พลังของแวนการ์ดจะเท่ากับตัวเลข Legion (พลังของการ์ดทั้ง2ใบรวมกัน)
- ในเทิร์นฝ่ายตรงข้าม พลังของแวนการ์ดจะนับแค่ยูนิทด้านขวา่ (ยูนิทตั้งต้น Legion)


*หมายเหตุ
Superior = การกระทำที่ไม่ตรงเงื่อนไขกับปกติ อันเกิดมาจากเอฟเฟคท์การ์ด ได้แก่
การ Call จากที่ไหนก็ได้ ช่วงไหนของเทิร์นก็ได้ = Superior Call
การ Ride จากที่ไหนก็ได้ ช่วงไหนของเทิร์นก็ได้ = Superior Ride


โซนศัพท์สแลง

สกรูเกรด (Grade Stuck)
- การไม่ไรด์ตัวเกรดสูงกว่าแวนการ์ด(เมื่อยังไม่ถึงเกรด 3) อาจเพราะไม่มี หรือไม่ไรด์เองทำให้เสียโอกาสอย่างมาก เพราะฝ่ายที่ถึงเกรด 3 ได้ จะเพิ่มการ์ดบนมือได้เร็วขึ้น

การ์ดมิด (No pass)
- ป้องกันแบบเกินพลังของตัวที่โจมตีมา ชนิดที่ว่าเจอ 2 ทริกเกอร์ บวกพลังให้ตัวที่ตีหมด 10000 ก็ไม่เพียงพอที่จะฮิท
เช่น แวนอีกฝ่ายเกรด 3 โจมตีมา 15000 แวนเราตี 10000 ป้องกันไป 20000 เป็น 30000ต่อให้อีกฝ่ายเจอทริกเกอร์เพิ่มพลังเป็น 25000 ก็โจมตีเราไม่เข้า

All (ใช้เมื่อเล่นในเกม หรือออนไลน์)
- ความหมายประมาณ "ฉันจะป้องกันแค่นี้แหละ เชิญเช็คทริกเกอร์มาเลย"

1pass/2pass
- ต้องเช็คเพิ่มพลังจากทริกเกอร์ 1/2 ใบ ถึงจะฮิท

Final Turn (เทิร์นสุดท้าย)
- คำพูดปิดเกม เพื่อบ่งบอกว่าจะชนะในรอบนี้ [มักพูดโดยตัวละครชื่อ ไค โทชิกิ]

Final Heal
- ฮีลทริกเกอร์ตอนดาเมจสุดท้าย เลยรอดแทนที่จะตาย ตัวการสำคัญที่ทำให้ Final Turn ล้มเหลว


คำศัพท์สายการไรท์, ชื่อเรียกเอฟเฟคท์

Herald Master
เอฟเฟคท์ของยูนิทเกรด 0/1 ที่เมื่อจ่ายคอสต์แล้วสามารถหาเกรด 3 ที่กำหนดจากเด็คขึ้นมือได้

Hero Sidekick
- เป็นคู่ของยูนิทเกรด 1,2 โดยตัวเกรด 1 จะมีเอฟเฟคท์ที่เมื่อบูสต์ให้กันแล้วจะได้พลังเพิ่มเข้าไปอีก 4000
เช่น วิงกัล+บลาสเตอร์เบลด

Master-Servant
- เป็นคู่ของยูนิทเกรด 1,3 โดยตัวเกรด 1 จะมีเอฟเฟคท์ เมื่อจ่ายคอสต์ตามที่กำหนดแล้วให้ยูนิทที่บูสต์จะได้พลังเพิ่มอีก 5000

Chain Evolution
- เป็นเอฟเฟคท์การไรท์แบบพิเศษที่พบได้ในยูนิทที่อยู่ใน BT03
- เอฟเฟคท์ เปิดท็อปเด็ค 5 ใบเพื่อหายูนิตที่กำหนดมาไรด์ในช่วงไรด์เฟส แต่ในเทิร์นนั้นจะไรด์แบบปกติไม่ได้ ส่วนการ์ดที่เหลือเอามาเรียงและนำไปวางไว้ใต้เด็ค

ข้อดี :
- ได้เรียงเดคและไม่ต้องเสียมือในการไรท์ยูนิต(ถ้าเปิดเจอ)
- ถ้าไรด์ติดกันได้ครบ จะได้เอฟเฟคท์โซลชาจ 2 ใบ

ข้อเสีย :
- เกรด 3 ของสายนี้หากไม่มี ยูนิตที่มีเอฟเฟคท์เหล่านี้เกรด 1,2 อยู่ในโซลพลังจะเหลือเพียง9000
- ต้องมีโซล 6 ขึ้นไปถึงจะใช้เอฟเฟคท์ของตัวเกรด 3 ได้

ยูนิทเอฟเฟคท์นี้ : สึคุโยมิ(ออราเคิล)  ,กาลาฮัท(รอยัลพาราดิน)
เบสพลัง G0 5000 G1 7000 G2 9000 G3 11000

Jump Evolution
- เป็นการไรด์แล้วได้เอฟเฟคท์ ที่พบได้ในยูนิทที่อยู่ใน BT04
- โดยสายนี้เกรด 0 ถ้าถูกไรด์ทับด้วยเกรด 1 ที่ถูกต้องจะมีความสามารถในการหาเกรด 2 ที่กำหนดขึ้นมือ
- เกรด 1 เฉพาะสาย หากลงมาเป็นเรียสามารถทิ้งเกรด 3 บนมือ 1 ใบ เพื่อหาเกรด 3 ที่ถูกต้องจากเด็คขึ้นมือ

ข้อดี :
- ถ้าไรด์เกรด 1 ถูกตัวก็ไรด์เกรด 2 ได้ถูกต้องชัวร์
- จากเอฟเฟคท์ของตัวเกรด 1 ที่ลงเรียกาด จะช่วยรีดเด็คได้ด้วย แถมได้ยูนิทที่ต้องการอีก

ข้อเสีย :
- ตัวเกรด 1 พลังต่ำ

ยูนิทเอฟเฟคท์นี้ : แฟนท่อมบลาสเตอร์ดราก้อน, เบลาครูเกอร์, เอมเบอดราก้อน, กิราฟา, อีนิกแมน
เบสพลัง G0 5000 G1 6000 G2 9000 G3 10000

Ride Chain (แบบเก่า)
- เป็นการไรด์แล้วได้เอฟเฟคท์ ที่พบได้ในยูนิทที่อยู่ใน BT08, EB03
- สายนี้เกรด 0 ถ้าถูกไรด์ทับด้วยเกรด 1 ที่ถูกต้อง จะเปิดท็อปเด็ค 7 ใบเพื่อหาเกรด 2 หรือเกรด 3 ที่ถูกต้องขึ้นมือได้
- หากเกรด 0 ถูกไรด์ทับด้วยเกรด 1 ตัวอื่น สามารถคอลตัวมันเองในโซลลงเรียการ์ด(ไหล) ได้ด้วย
- เกรด 1 เมื่อถูกเกรด 2 ที่ถูกต้องไรด์ทับ(และมีเกรด0ที่ถูกต้องในโซล)จะเกิดเอฟเฟคท์พิเศษ(โดดเด่นไปตามแคลน, ยูนิท)
- เกรด 2 เมื่อถูกเกรด 3 ที่ถูกต้องไรด์ทับ(และมีเกรด1ที่ถูกต้องในโซล)จะเกิดเอฟเฟคท์พิเศษ(เหมือนบรรทัดบน)

ข้อดี :
- ถ้าไรด์เกรด 1 ถูกตัว โอกาสได้เกรด 2,3 เอามาไรด์เพื่อความต่อเนื่องจะสูง
- กำไร,ความโหดจากเอฟเฟคท์พิเศษจะดีมาก ค่อนข้างแรง
- ถ้าไรด์เกรด1 ผิดตัวก็ยังเอาตัวเริ่มเกรด 0 จากโซลมาเป็นเรียได้

ข้อเสีย :
- หากไรด์พลาดตอนเกรดไหนก็ตาม จะกลายเป็นอะไรที่ธรรมดาไปเลย

ตัวอย่างยูนิตสายนี้ - สเปคทรัลดุคดราก้อน(โกลพาราดิน) , อสูรกินดาว ซีล(ไดเมชั่นโปลิส)
เบสพลัง G0 4000 G1 7000 G2 9000 G3 10000

Ride Chain (แบบใหม่)
- เป็นการไรด์แล้วได้เอฟเฟคท์ ที่พบได้ในยูนิทที่อยู่ใน BT10, BT11, BT14
- สายนี้เกรด 0 ถ้าถูกไรด์ทับด้วยเกรด 1 ที่ถูกต้อง จะเปิดท็อปเด็ค 7 ใบเพื่อหาเกรด 2 หรือเกรด 3 ที่ถูกต้องขึ้นมือได้
- หากเกรด 0 ถูกไรด์ทับด้วยเกรด 1 ตัวอื่น สามารถคอลตัวมันเองในโซลลงเรียการ์ด(ไหล) ได้ด้วย
- เกรด 1 หากถูกไรด์ทับโดยเกรด 2 ที่ไม่ถูกต้อง สามารถเปิดท็อปเด็ค 7 ใบเพื่อหาเกรด 2 ที่ถูกต้องมาไรด์ทับได้อีกด้วย(แต่ต้องมีเกรด 0 ที่ถูกต้องอยู่ในโซลก่อน)
- เกรด 2 มีเอฟเฟคท์ที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
- เกรด 3 มักไม่จำเป็นต้องไรด์ต่อจากเกรด 2 ที่ถูกต้อง และมักมีเอฟเฟคท์ที่ดีกว่าเกรด 2 ที่ถูกต้อง

ข้อดี :
- ถ้าไรด์เกรด 1 ถูกตัว โอกาสได้เกรด 2,3 เอามาไรด์เพื่อความต่อเนื่องจะสูง
- ถ้าไรด์เกรด 1 ถูกตัว ต่อให้ไรด์เกรด 2 ผิดก็ยังมีโอกาสหาตัวที่ถูกเอามาไรด์ได้
- เอฟเฟคท์เฉพาะในร่างเกรด 2 ว่าดีแล้ว ร่างเกรด 3 โหดกว่าอีก

ข้อเสีย :
- หากไรด์พลาดตั้งแต่เกรด 1 ก็เป็นอะไรที่ธรรมดาไปเลย

ตัวอย่างยูนิตสายนี้ - จีโนเวียส(อควาฟอร์ส) , อาร์เทมิส(เจเนซิส), ชวาสไชล์(ลิงค์โจกเกอร์)
เบสพลัง G0 4000 G1 7000 G2 9000 G3 10000


Boost Skill (มีเฉพาะในยูนิต G1เท่านั้น)

Boost 10000 -คือสกิล ที่จะเกิดก็ต่อเมื่อ ยูนิตที่มีสกิลนี้ บูสให้กับแวนการ์ดที่เป็นแคลนเดียวกัน และ พิทำตามเงื่อนไขที่กำหนดครบ พลังในการบูสจะเพื่มขึ้นเป็น 10000
ตัวอย่าง-กอลลี่เมคเกอร์ -เมื่อยูนิตนี้ บูสให้กับแวนการ์ดแคลนไดเมชั่นโรโบ แล้วเรามีแดมเมจ4ขึ้นไป ยูนิตนี้ได้รับ power+4000

บูสเฉพาะชื่อ - คือยูนิตที่จะบูสเป็น 10000 เมื่อ บูสให้กับยูนิตที่มีชื่อตามที่กำหนด ซึ่งหากบูสให้ยูนิตที่มีชื่อที่กำหนดไว้แล้ว โซลบลาส1 พลังบูสจะเพิ่มเป็น 10000
ตัวอย่าง-อโพคาลิปแบท -เมื่อยูนิตนี้บูสให้กับยูนิตที่มีชื่อ "บลาสเตอร์" โซลบลาส 1 ยูนิตนี้ได้รับ power +6000

บูสเฉพาะยูนิต - คือยูนิตที่จะบูสเป็น 11000 เมื่อบูสให้กับยูนิต ที่ชื่อตามที่กำหนดแล้ว โซลบลาส 1 ยูนิตนั้นจะพลังบูสจะเป็น เป็น 11000
ตัวอย่าง - ชาร์จิกัล  - เมื่อยูนิตนี้ บูสให้กับ ยูนิตที่ชื่อ  "พญาหมาป่าเงิน กามอล" โซลบลาส 1 ยูนิตนี้ได้รับ power +5000

*สกิลการบูส ใช้ได้1 ครั้งต่อ 1 การโจมตี *

_______________________________________________________________


Ride , Call skill

Superior Ride -ซูพีเรียไรท์
คือการไรท์แบบพิเศษ จากในเดค,มือ,ดรอบโซน ในเมนเฟส,แบทเทิลเฟส ตัวเอง ซึ่งบางทีจะเป็นการ ไรท์ จากG1->G3 ในเทรินเดียวซึ่งเอฟเฟคในการทำจะมีเงื่อนไขในการทำแตกต่างกันไป ตามแต่ละยูนิต
ตัวอย่าง - หุ่นรบต่างมิติ โกยูฉะ -  นำยูนิต ที่มีชื่อ จิเก็นโรโบ 4ใบ จากเรียการ์ดเข้าโซล หากเรามีแวนการ์ดเป็นแคลนไดเมชั่นโปลิส G2ขึ้นไป นำยูนิต G3ที่มีชือ จิเก็นโรโบ 1ใบจากในเดค มาไรท์

Superior call-ซูพีเรีย คอล
คือการคอลยูนิตแบบพิเศษ จากในเดค,แดเมจโซน,มือ,ดรอบโซน โดยไม่สนใจว่า แวนการ์ดของเรา จะมีเกรด ต่ำกว่ายูนิตที่ถูกคอลลงมา แต่บางใบอาจมีกำหนดไว้แวนการ์ดต้องเป็น เกรด.. ขึ้นไป
ตัวอย่าง - ผู้กอบกู้แห่งมิตรภาพ กาซีลอต ซินิธ - LB4 ESCB ผู้กอบกู้ 1  เมื่อยูนิตนี้โจมตีแวนการ์ดอีกฟั่ง เลือกยูนิต G2 หรือต่ำกว่า1ใบ ส่งไปใต้เดค จากนั้นเปิดทอป 1ใบหากยูนิตนั้นเป็นโกลพาราดิน คอลยูนิตนั้นลงช่องว่าง และยูนิตที่ถูกคอลลงมาได้รับ Power+10000 จนจบเทริน

Superior Persona Ride - ซูพีเรียเพอโซน่า ไรท์
คือ สกิล ของ รีเวนเจอร์ เรนจิ๋งฟอร์มดราก้อน ที่นำตัวเองมาไรท์ หลังจาก การโจมตีเสร็จสิ้น ในปัจจุบันเป็นการ์ดเพียงใบเดียวที่มีความสามารถนี้

Legion
คือสกิล ที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ทำเงือนไขการลีเกี้ยนสำเร็จ และนำยูนิตที่มีเอฟเฟคลีเกี้ยนใบที่แวนการ์ดกำหนด มาต่อกับแวนการ์ดโดยนำมาตามเงื่อนไขเท่านั้น และ นำมายืนต่อกับแวนการ์ดโดยให้สัญลักษณ์ลีเกี้ยนต่อกันพอดี โดยทั้งสองใบ จะนับรวมกันเป็นแวนการ์ด ซึ่ง ผลของการลีเกี้ยนจะอยู่ตลอดทั้งเกม
* ในเทรินฟั่งตรงข้ามให้นับพลังตามยูนิตตั้งต้นลีเกี้ยน*
*ถ้าถูกไรท์ทับยูนิตที่ลีเกี้ยนกันทั้งหมดจะนับเข้าโซล*
*คริดิคอลนับแค่ของแวนการ์ดตัวเดิมเท่านั้น*
*ท่าอีกฟั่งโจมตีเล็งได้แต่ตัวแวนหลักที้เป็นตัวเริ่มลีเกี้ยนเท่านั้น*
*ยูนิต1ตัวสามารถเข้าสู่สภาณะลีเจี้ยนได้ครั้งเดียวและไม่สามารถใช้สกิลซีคเดอะเมทได้ในกรณีที่ทำการSPลีเจี้ยน*

Delete
คือสกิลเฉพาะของพวก "ดีลีทเตอร์" ซึ่งเป็นซัพแคลนของ ลิงค์โจคเกอร์ มีความสามารถเหมือนล็อคผลหายตอนเอนเฟสคนโดนเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ การดีลีทเป็นการจับแวนการ์ดให้อยู่ในสภาพคว่ำ และทำให้ เอฟเฟคไร้ผล พลังเหลือ0 แต่เกรด ชื่อ สกิล(บูส,อินเตอร์เซ็บ,ทวินไดลฟ์) แคลน เผ่า ยังอยู่เหมือนเดิม และยูนิตที่โดนยังสามารถสั่งโจมตีได้ และเราสามารถแก้การดีลีทได้ด้วยการนำยูนิตตัวใหม่มาไรท์ ทับแวนการ์ดของเราใหม่ได้ในช่วงไรท์เฟส

Stried
คือการ นำยูนิตในเอกตร้าเดคของเรามา "สไตรด์" แวนการ์ด และแวนการ์ดก่อนหน้าจะถูกเรียกว่า ฮาร์ต ยูนิตที่ทำการ สไตรด์มา จะนำพลังของ ฮาร์ต มารวมกับพลังของยูนิตที่สไตรด์มา , ได้รับชื่อ ของยูนิต ฮาร์ต ด้วย (ในกรณีของยูนิตลีเจี้ยนให้ทำการเลือกตัวใดตัวหนึ่งเป็นฮาร์ต)และการสไตรด์มีผลจนจบเทริน และตอนจบเทรินนำยูนิตที่ทำการสไตรด์ ไปวางไว้ใน G-Zone แบบหงาย

เงื่อนไขของการทำ สไตรด์ คือ ในช่วงไรท์เฟส เมื่อแวนการ์ดฟั่งเราเป็นเกรดสามขึ้นไป ทำการทิ้งการ์ดจากมือให้รวมกันเป็นเกรด3และนำยูนิตจาก G zone ที่คว่ำอยู่มา สไตรด์ แวนการ์ดเรา 
*การสไตรด์ไม่นับเป็นการไรท์เพราะฉะนั้นเอฟเฟคเบรคไรท์,เอฟเฟคที่ทำงานตอนถูกไรท์จึงไม่เกิดผล*
*ยูนิตที่ลีเจี้ยนอยู่หากโดนสไตรด์ จะยังอยู่ในสภาพเดิมแต่ผลของเอฟเฟคที่บอกว่าเมื่อทำการลีเจี้ยนจะไม่ทำงาน*
*สามารถใช้แก้ดีลีทได้*


Generation -Zone (G-zone) - คือเอกตร้าเดคของแวนการ์ดสำหรับใส่ G-ยูนิต สำหรับการสไตรด์ ซึ่งสามารถใส่ได้8ใบเวลาเล่นจะวางคว่ำหน้า


________________________________________________________________

อักษรย่อ/ชื่อเรียกย่อๆของแคลนต่างๆ
รอยัลพาราดิน = RP,รอยัล
โกลพาราดิน = GP, โกล
ออราเคิล = OTT
เจเนซิส = ไม่มีมั้ง, เจเน
แองเจิลเฟเธอร์ = AF, แองเฟ, แองเจิ้น
ชาโดว์พาราดิน = SP, ชาโดว์
คาเงโร่ = ไม่มี, คาเง
นารุคามิ = NK, นารุ
ทาจิคาเสะ = ไม่มี, ทาจิ
มุราคูโมะ = ไม่มี, มุรา
นูปะทามะ = NB, นูบะ
เพลมูน = PM
ดาคอิเรกกุล่า = DI, ดาคอิเรก
สไปรค์บราเธอร์ = ไม่มี, สไปค์
เมก้าโคโลนี้ = MC, เมก้า (อย่าจำสับสนกับเมก้าพลาซ่านะครับ)
เกรทเนเจอร์ = GN, เกรทเน
นีโอเนคต้า = NN, เนโอ, นีโอ
แกรนบูล = GB
อควาฟอร์ส = AQF, อควา
เบอบิวด้าไทรแองเกิล = BM, เบอบิวด้า, เงือก
โนว่าแกรปเปอร = NG, โนว่า
ไดเมนชั่นโพลิส = DP,ไดเมนชั่น
ลิงค์โจคเกอร์ = LJ, ลิงค์, ลิงค์โจก


GG = Good Game
Gl, GL= Good Luck,ชื่อร้านการ์ด

วิเคราะห์บทบาทแคลน เกรท เนเจอร์ ใน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 2

     สวัสดีคร้าบ พบกันอีกครั้งกับบทความเพ้อๆของพี่ชินจ้า โดยในวันนี้ก็จะกล่าวถึง แคลนอีกแคลนหนึ่งที่มีบทบาทมากมายในภาค 2 นั่นเอง ซึ่งก็คือแคลน เกรท เนเจอร์ สัตว์ป่าผู้ยิ่งใหญ่นั่นเองจ้า

     แคลน เกรท เนเจอร์ มีเอกลักษณ์ที่่ยูนิตทั้งหมดจะเป็นยูนิตสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีความรู้ หรือว่า เรียนอยู่ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างจะแปลกตานิดหน่อย เพราะการจับสัตว์ป่าต่างๆ เช่น เสือ แพนด้า ยีราฟ มาเรียนก็อาจจะทำให้ดูสนุกแบบคิดไม่ถึงได้เลยทีเดียวจ้า โดยสไตล์การเล่นของแคลนนี้จะเป็นการเน้นเพิ่มพลังให้กัล RC ประมาน 4000 แต่ก็จะต้องแรกมาด้วยการถูกรีไทร์ตอนจบเทิร์น แต่ก็จะมีเอคเฟคต่างๆ ในการช่วย เช่นเมื่อโดนรีไทร์ตอนจบเทิร์น จะได้จั่ว หรือ ได้หงายดาเมจ หรือ ได้เซิจยูนิตในเด็คขึ้นมือ หรือ แม้แต่ชุบกลับเข้ามาในสนามอีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นแคลนที่เล่นสนุกสนานอีกแคลนหนึ่งเลยทีเดียว

     สำหรับผู้ที่ใช้แคลนนี้ได้แก่ทีม เด็กอัจฉริยะ ทีม S.I.T. จีเนียส นั่นเอง โดยกลุ่มนี้ถึงจะดูเป็นเด็กแต่ความฉลาดเกินเด็กไปเลยทีเดียว เพราะฉลาดถึงขั้นข้ามชั้นเรียนมาแล้ว (อารมณฺประมาณว่าต้วอยู่ ป.3 แต่เรียนไปถึง ม.3 อะไรประมาณนั้น) และแน่นอนว่าใช้แคลนนี้ได้เก่งกาจเลยทีเดียว แถมหัวหน้าทีมได้รับบทบาทเป็นรองบอสของภาค 2 อีกต่างหาก เรียกว่าเพิ่มงานให้กับพระเอก เซนโด ไอจิ ของเราพอสมควรเลยจ้า

     ต่อมาเรามาดูกันดีกว่าครับว่า แคลน เกรท เนเจอร์ นั้น มีการปรากฏตัวในชุดไหนบ้าง (ณ ตุลาคม 2014)

Booster Sets:

Fighter's Colelction

Shared Races

โดยแคลนนี้เป็นแคลนที่ปรากฏตัวก่อนในภาค 1 แล้วก็จริง แต่เนื่องจากออกมาเพียงแค่ 4 ใบ จึงไม่สามารถจัดเป็นเด็คได้ ต้องรอการ์ดจาก BT07 ออกมาถึงจะจัดเป็นเด็คเล่นได้นั่นเองจ้า

     สาย School Hunter, Leo-pald (BT07)
     สายดั้งเดิม หรือ สายพื้นฐานที่สุดของ แคลนนี้ โดยสายนี้จะเล่นโดยเน้นตัว Leo-pald ยืนเป็นตัวหลัก และสามารถแอบเสริมเกรด 3 อื่นๆ ได้ตามใจชอบ แต่ส่วนมากมักจะเสริมเป็นยูนิตที่เมื่อโดนรีไทร์แล้วเกิดเอคเฟคมากกว่า ด้วยความที่ Leo-pald สามารถแจกพลังให้คนอื่นได้ทุกเทิร์น(แลกกับการที่จะต้องตายในช่วงจบเทิร์น) ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องพลังการบุกจากช่อง RC มากนัก อีกทั้งสกิล LB4 ของ Leo-pald ก็ยังช่วยวนยูนิตที่ตายไปกลับมาได้อีก เรียกได้ว่าบุกได้ต่อเนื่องสุดๆ อีกทั้งสายนี้ยังไม่ค่อยซีเรียสเรื่องการ์ดที่ใส่ในเด็คมาก รวมถึงทริคเกอร์ด้วย จึงสามารถปรับรุปแบบการบุกได้หลายๆ แบบ แล้วแต่ต้องการนั่นเอง แต่โดยรวมถือว่าเล่นง่ายครับ แถมตีแรงด้วย ฝั่ง RC ซักฝั่งถ้าต่อบูสดีๆ ตีได้ถึง 21000 ขึ้นไปแน่ๆ 

     สาย Guardian of Truth, Lox (BT07)
     สายสามัญอีกสายหนึ่งโดยสายนี้มีคีย์อยู่ที่สกิล เพอร์โซน่าบลาสของ Lox ที่เมื่อจ่ายค่าคอสไปแล้วจะเลือก RC เพิ่มพลัง 4000 และแถม 1 คริติคอล เข้าไปด้วย ดังนั้นสไตล์การเล่นของสายนี้จะเน้นที่การขู่โจมตีด้วยคริติคอล จากทั้ง VC และ RC นั่นเอง โดยสไตล์การเล่นของสายนี้จะเน้นให้ Lox ปั้มพลังให้กับยูนิตที่สามารถตีเองเพียวๆ ได้เกิน 11000 ได้ เช่น Red Pencil Rhino ที่เอามาเล่นคู๋กับ Lox อยู่แล้ว หรือจะเป็นเกรด 3 Magnet Crocodile ก็โอเค จากนั้นก็อาจเลือกเล่นเป็นใส่ แสตน ทริคเกอร์เยอะๆ หน่อย เพื่อให้ตัวRC ที่เราบวกพลัง และ คริ ไว้ ลุกขึ้นมาตีได้อีกรอบนั่นเอง ดังนั้นสายนี้จะเน้นกะจังหวะ ใช้เอคเฟคของ Lox ในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามมือน้อยๆ แล้วเอา Lox แจกคริกับพลังให้ RC เพื่อให้ตีหนักๆ และ บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันนั่นเอง

     สาย School Dominator, Apt (BT07)
     อีกสายหนึ่งที่น่าเล่นของแคลนนี้ ซึ่งสายนี้จะมีความน่ากลัวตรงที่ Apt กับความสามารถ LB4 ในการเร่งพลังง่ายๆ โดยถ้าเล่นคู่กับตัวต่อบูสของ Apt เอง ก็จะได้พลังถึง 26000 ในช่อง VC และ 21000 ในช่อง RC เลยทีเดียว ทำให้ต่อพลังได้ง่ายมาก และไม่ต้องรีไทร์อีกด้วย สายนี้จึงสามารถเร่งพลังตีได้เรื่อยๆ นอกจากนี้สกิลของ Apt ยังช่วยเพิ่มจำนวนครั้งในการโจมตีได้อีก ทำให้เหมาะกับผู้เล่นที่ชอบเล่นเกมเร็วมากๆ แต่อาจจะต้องระวังการ์ดบนมือหน่อยเพราะการเรียกตัวใหม่ลงมาโจมตีเท่ากับว่าบนมือเราก็ลดลงไปเช่นเดียวกัน ดังนั้นสไตล์นี้จะเน้นเกมเร็ว ต่อบูสหนักๆ ส่วนใครจะเสริมด้วยยูนิตแบบไหนก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการครับ เพราะแคลนนี้มีตัวเลือกให้ใส่ในเด็คค่อนข้างเยอะมากๆ ทีเดียว

     สาย Battler of the Twin Brush, Polaris (BT09)
     สายสุดท้ายของแคลนนี้ในภาค 2 โดย Polaris นี้จะออกมาในชุด BT09 นั่นเอง โดย Polaris นั้นนับว่าเป็นยูนิตที่ครบเครื่องเรื่องการบุกอีกตัวหนึ่งของแคลนนี้ เพราะตัวมันเองแค่โจมตี VC ฝ่ายตรงข้ามก็ +3000 แล้วทำให้ต่อบูสได้ง่ายหรือสู้กับพวกครอสไรด์ไหว แถมสกิล LB4 ที่ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งในการโจมตี แล้วยังจะบวกพลังให้อีก เรียกว่าครบสูตรมากๆ โดยยสไตล์การเล่นสายอาจจะกินปริมาณเคาเตอร์บลาสมากหน่อย เพราะแค่ LB4 ของ Polaris ก็ใช้ทีละ 2 แล้ว ไหนจะตัวอื่นๆ ที่อาจจะต้องใช้อีก ทำให้ต้องคอยระวังเรื่องการใช้งานเคาเตอร์บลาสพอสมควร ดีที่แคลนนนี้มีตัวช่วยหงายดาเมจที่ใช้ไป ทำให้สามารถใช้ต่อเนื่องได้ 2-3 เทิร์นแบบไม่ยากมากนั้น (เอาจริงๆ ใช้ไป 2-3 เทิร์น ก็น่าจะรู้ผลแล้วล่ะ) สายนี้จึงเป็นอีกสายหนึ่งที่แนะนำให้เล่น โดยสามารถนำไปผสมกับสายอื่นๆ ก็ยังได้ เพราะ Polaris นั้นใช้งานได้ง่ายๆ นั่นเองจ้า


     จริงๆ ก็ยังมีสายอื่นๆ อีก เช่น สาย Armed Instructor, Bison เพียงแต่ว่าคนอาจไม่ค่อยนิยมเล่นเท่าไหร่นัก เพราะ ตัว School Hunter, Leo-pald หรือ  Battler of the Twin Brush, Polaris ครบเครื่องมากกว่านั่นเองจ้า



     ทั้งหมดนี้ก็เป็นบทบาททั้งหมดของ แคลน เกรท เนเจอร์ ในภาค 2 นั่นเองครับ เสียดายที่แคลนนี้ในภาค 3-4 บทบาทจะลดน้อยลงจนหน้าใจหาย ก็ได้แต่ภาวนาว่าผู้ผลิตอย่างบูชิโร้ดจะนำแคลนนี้มาปัดฝุ่นใหม่ในภาค 5 นะคร้าบบบบบ (แต่การ์ดจากภาค 5 ชุดแรกก็มีแต่ 4 แคลนหลัก+แคลนใหม่เหมือนเดิม ฮ่วย)


ขอบคุณที่ติดตามคร้าบ
โดย พี่ชิน

วิเคราะห์ บทบาทต่างๆ แคลน แกรนบลู ใน การ์ดไฟท์ แวนการ์ด ภาค 2 จ้า

     สวัสดีคร้าบ พบกันเช่นเคยกับ บทความจาก พี่ชิน จ้า โดยในวันนี้ก็จะขอพูดถึงแคลนที่มีเอกลักษณ์พิเศษไม่เหมือนใครอีกแคลนหนึ่ง ซึ่งก็คือแคลน แกรนบลู นั่นเองคร้าบ 

     แคลน แกรนบูล แคลนโจรสลัดผีดิบจากท้องทะเล โดยยูนิตส่วนใหญ่ก็จะเป็นแนวๆ โจรสลัดผีไม่สุก เอ้ย ผีดิบ ซอมบี้ วิญญาณ แวมไพร์ และอื่นๆ อีกมากมาย โดยแนวการเล่นส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ ดรอปโซน (Drop Zone) หรือก็คือ สุสาน นั่นเอง โดยส่วนมากจะเป็นการเรียกจากหลุมศพ เช่น ซุพีเรียไรด์ หรือ ซูพีเรียคอล จากสุสาน นั่นเอง หรือ บางยูนิตก็มีความสามารถในการนำการ์ดลงสุสาน เพื่อที่จะได้วนมาใช้ต่อๆ ไป โดยรวมแคลนนี้ความยากในการเล่นระดับปานกลาง อาจจะต้องใช้ดวงหน่อย ลุ้นอย่าให้ทริกเกอร์ลงสุสานมากนัก และ ก็ต้องคอยระวังการ์ดหมดกอง ด้วยนั่นเอง

     ผู้ที่ใช้แคลนแกรนบลูได้แก่ โกคิ ไดมอนจิ และ ลูกทีมอื่นๆ ในร้านของเขานั่นเอง เพียงแต่พอเข้าภาค 2-3 คนเล่นหลักๆ ที่เราจะเห็นในการ์ตูน จะเหลือแต่ โกคิ มาเล่นคนเดียว คนอื่นๆ โดยตัดบทซะส่วนใหญ่จ้า (น่าสงสาร) โดยในภาค 2 จะมี ลิซาร์ด จากทีมนินจา เป็นผู้ใช้แคลนนี้อีกคนหนึ่ง แต่บทน้อยเอาซะมากๆ ไม่กี่ตอนก็โดนตัดบทเรียบร้อยจ้า

     ก่อนจะไปดูสายต่างๆ ของแคลนนี้เรามาดูกันก่อนว่าแคลนนี้มี การปรากฏออกมาในชุดไหนบ้างกันก่อนดีกว่าจ้า (ณ ตุลาคม 2014)

Booster Sets:

Fighter's Collection

เท่าที่เห็นจะทราบได้ว่า แกรนบลูนั้น นานๆ จะออกทีครับ โดยภาค 1 เต็มที่ก็ 1-2 ชุด ไม่เกิน แต่ถึงจะนานๆ มาที แต่มาทีก็โหดร้ายทีนะคร้าบบบ ต่อไปมาดูสายต่างๆ กันดีกว่าจ้าว่ามีสายอะไรบ้าง

     สาย บาสเคิร์ท + เกรด 3 อื่นๆ(ฺBT01-02)
     สายแรกสุดของแคลน แกรนบูล โดยยูนิตหลักที่ใช้คือ บาสเคิร์ท ที่สามารถโซลชาจ และ+พลัง 2000 ได้ทุกเทิร์น ในการโซลชาจของบาสเคิร์ททุกเทิร์นนั้น จะช่วยให้เรามีโซลเยอะพอที่จะใช้ความสามารถของ ตัวจั่วอย่างแดนซิ่ง คัทเลส ได้เรื่อยๆ ทำให้มือมีการ์ดเยอะๆ นั่นเอง อีกทั้งการ์ดในแคลนนี้สามารถชุดวนจากสุสานขึ้นมาได้เรื่อยๆ ตัวไหนลงมาใช้สกิลเสร็จแล้วพลังน้อยๆ ก็เอายูนิตเช่น ซามูไรสปิริต วนเปลี่ยนมาสู้ ทำให้สไตล์การเล่นของสายนี้จะเป็นแนวสมดุล คอยปรับบอร์ด ปรับยูนิตได้เรื่อยๆ เร่งจั่วบางโอกาศ หรือ บางคนอาจเพิ่มเกรด 3 อื่นๆ ที่สามารถซูพีเรียไรด์ได้เข้าไป ทำให้รูปแบบการเล่นหลากหลายมากขึ้นนั่นเอง แต่ข้อเสียของแคลนนี้ในช่วงภาค 1 คือการต่อบูสที่ค่อนข้างยาก โดยในช่อง VC ต่อได้ไม่เกิน 22000 แน่นอน ทำให้เวลาสู้กับพวกครอสไรด์ในภาค 1 ด้วยกันค่อนข้างจะลำบาก อีกทั้งเราจะยังเสียเปรียบเรื่องของการ์ดในกองด้วย เพราะ มียูนิตหลายๆ ตัวที่ต้องนำการ์ดบนกองลงสุสาน เราจึงมีโอกาศการ์ดหมดกองก่อนและแพ้ได้นั่นเองจ้า

     สาย โคคิวทัส + เกรด3 อื่นๆ (BT06)
     สายการเล่นที่มีปรากฏในภาค 2 สายโคคิวทัสนั่นเอง โดยสายนี้ก็ยังคงความเป็นแกรนบลูไว้เช่นเคย โดยสามารถทำได้ทั้ง ซูพีเรียไรด์ และ ซูพีเรียคอล จากสุสาน แถมทำได้ง่ายขึ้นด้วย นอกจากนี้ตัว โคคิวทัสเอง ก็สามารถเรียกพวก และ เพิ่มพลังได้ถึง 26000 (ด้วยการใช้ LB4 และ ตัวบูสเฉพาะตัว) ทำให้พลังการบุกเพิ่มขึ้นมากอย่างน่ากลัวสุดๆ เลยทีเดียว อีกทั้งทริคเกอร์ ที่มาเพิ่มขึ้นในชุด BT06 ทำให้เราสามารถปรับทริคเกอร์ให้เหมาะกับรูปแบบการเล่นได้มากขึ้น แถมยูนิตใหม่ๆ ในชุดนี้ก็มาช่วยแก้ปัญหาเดิมๆ ของแคลนแกรนบลูได้มาก เช่น เคาเตอร์บลาส ที่เคยไม่พอ ก็มีตัวช่วยหงายดาเมจมาให้ หรือ ตัวเริ่มแบบใหม่มีมีสกิลหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะยูนิตที่ช่วยเพิ่มจำนวนครั้งในการโจมตีอย่าง ทานาทอส ทำให้รูปแบบการบุกของแกรนบลูหลากหลายขึ้นมาก ในช่วงBT06 แคลนนี้จึงเป็นอีกแคลนหนึ่งที่น่านำไปเล่นนั่นเองจ้า

     ทั้งหมดนี้ก็จะเป็น สายต่างๆ ของแกรนบลู นะครับ ถึงจะดูเหมือนน้อย แต่ก็สามารถปรับยูนิตต่างๆ หรือ ทริคเกอร์ในเด็คได้อย่างหลากหลายครับ เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่ จะเอาโคคิวทัสเป็นตัวหลักในการบุกนั่นเอง เพราะใช้งานง่าย และ ตีแรงจ้า สำหรับแคลนนี้ก็มียาวๆ ไปถึงภาค 4 แน่นอนครับ สาวกแกรนบลูเล่นกันไปยาวๆ จ้า บุ๋งๆๆๆๆๆ