วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์ บทบาทของแคลน อควา ฟอร์ส ในการ์ดไฟท์ แวนการ์ด ภาค 2 จ้าาาา

    กลับมาพบกับพี่ชิน กันอีกเช่นเคยจ้า กับการวิเคราะห์ บทบาท และ สายการเล่นต่างๆ ของแคลนในภาค 2 ซึ่งวันนี้ก็ถึงคิวของ อควาฟอร์ส แคลนน้องใหม่ในภาค 2 และยังเป็นแคลนที่ได้รับความนิยมชมชอบมากๆ อีกแคลนนึงด้วย เนื่องจากเป็นแคลนของบอสใหญ่ในภาค 2 นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าอะไรที่เป็นแคลนที่บอสตัวสุดท้ายที่พระเอกจะต้องไปสู้ด้วยนั้นย่อมจะได้รับความนิยมเป็นธรรมดา ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็แคลน ชาโดว พาลาดิน จากภาค 1 นี่แหละ ที่มีคนนิยมเล่นกันอย่างล้นหลามมากๆ เลยทีเดียว

     สำหรับแคลน อควาฟอร์ส นั้น จะมีธีมเป็นแนว กองทัพแห่งท้องทะเล 7 คาบสมุทร ซึ่งจะเต็มไปด้วยยูนิตประเภท เรือรบ ทหารเรือ มังกรทะเล และอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ในทะเลนั่นเอง 

     นอกจากนี้ แคลน อควา ฟอร์ส จะมีสไตล์การเล่นที่เน้นเพิ่มจำนวนครั้งในการโจมตี ให้ได้มากๆ ตรงนี้หลายๆ คนอาจจะ งง ว่า มันต่างจากแคลนโนว่าตรงไหน ต่างครับต่างแน่นอน แคลนโนว่านั้นจะเป็นแนวแสตนขึ้นมาตีตรงๆ ไม่ได้เน้นลูกเล่นอะไร แต่แคลน อควา ฟอร์ส นั้นจะต้องคอยคำนวนการ จำนวนครั้งในการโจมตี ครับ เพราะว่า สกิลส่วนใหญ่ของยูนิตเกรด 2-3 มักจะเกิดขึ้นเมื่อเอาตัวนี้สั่งตีเป็นครั้งที่ 3 หรือ ครั้งที่ 4 ขึ้นไปนั่นเอง ทำให้ยูนิตของแคลน อควา ฟอร์ส จะมีลูกเล่นในการเพิ่มจำนวนครั้งใจการโจมตีด้วยตัวเองได้ เช่น ตีเสร็จแล้วแสตนใหม่(แต่ลดพลัง) หรือ ตีเสร็จแล้ว สลับกับยูนิตในแถวหลังมาโจมตีต่อ (เราจะได้เห็นการเอาเกรด 3 หรือ 2 วางต่อกันก็คราวนี้แหละ) ดังนั้นนี่จึงเป็นเอกลักษณ์ของ แคลน อควา ฟอร์ส นั่นเองจ้า


     สำหรับผู้ใช้แคลน อควา ฟอร์ส นั้นจะมีผู้ใข้หลักคือ Leon Soryu (ขออนุญาติไม่เขียนภาษาไทยนะครับ เพราะ ชื่ออ่านได้หลายๆ แบบ เช่น ลีออน หรือ เลออน กลัวผิดจ้า) ซึ่งเป็นหัวหน้าทีม Dreadnought นั่นเอง โดย Leon นั้นนอกจากจะเก่งกาจแล้ว ยังจะมีพลังของ ไซควอเรีย อีก ทำให้เราจะได้เห็นช้อตจั่วเทพ เปิดได้ 2 คริ เป็นประจำนั่นเอง โดยปูมหลังของ Leon Soryu ค่อนข้างจะน่าสงสารทีเดียว ถ้ายังไงรบกวนติดตามเบื้องหลังได้ในการ์ตูนจ้า พี่ชินขอไม่สปอยแล้วกันจ้าเดี๋ยวไม่ซึ้ง

     นอกจาก Leon แล้วก็ยังมีสองสาวฝาแฝดอีกคู่หนึ่งที่ใช้แคลน อควา ฟอร์ส เช่นเดียวกัน และเป็นทั้งลูกทีมของ Leon และผู้ติดตามอีกด้วย นั่นก็คือ Jillian Chen (คนพี่) และ Sharlene Chen(คนน้อง) นั่นเอง ซึ่งทั้งคู่จะไม่ค่อยมีบทบาทอะไรในการต่อสู้มากนัก มักจะโดน Leon แย่งซีนไปเสียหมดมากกว่านั่นเอง

สำหรับการ์ดแคลน อควา ฟอร์ส จะมีในชุดต่างๆ ดังนี้จ้า (ณ เดือน กันยายน 2014)

Booster Sets:

Trial Decks:

Fighter's Collection

ซึ่งแน่นอนว่าก่อให้เกิดสายต่างๆ ในการเล่นอย่างแน่นอน จะมีสายอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยจ้า

สาย Navalgazer Dragon
     สายแรกสุดของ แคลน อควา ฟอร์ส เพราะเป็นยูนิตจากชุด TD07 นั่นเอง โดยสายนี้นั้นจะมีการโจมตีที่รุนแรงมาก เพราะตัว Navalgazer Dragon เองสามารถเร่งพลังเองเพียวๆ ได้ถึง 16000 อยู่แล้ว ยิ่งต่อด้วยตัวบูส 10000 ที่มีใน TD ชุดเดียวกันล่ะก็จะสามารถเร่งพลังได้ถึง 26000 เลยทีเดียว อีกทั้งสกิล LB4 ของ Navalgazer Dragon นั้นขอแค่เป็นการโจมตีครั้งที่ 3 ก็พอ ทำให้การใช้สกิลของ Navalgazer Dragon นั้นทำได้อย่างไม่ยากเย็นเลย เพราะเอาจริงๆ ขอแค่แถวหน้าเต็มก็ตีครบ 3 ครั้งได้แล้ว แถมถ้าใช้สกิลสำเร็จจะสามารถให้ RC เรา 2 ตัว แสตนขึ้นอีกครั้ง จึงเป็นอะไรที่บุกได้หนักมากๆ เลย ข้อเสียอาจจะเป็นสกิลของ Navalgazer Dragon ที่กินเคาเตอร์บลาสถึง 2 เคาเตอร์ ทำให้จำนวนการใช้งานค่อนข้างจะจำกัด (แต่ก็นะมันใช้ง่ายนี่นา) ดังนั้นสายนี้จึงเป็นสายที่มีความสามารถในการบุกสูงมาก เพราะตีหนักจริงๆ กะจังหวะใช้ดีๆ ฝ่ายตรงข้ามมีเหนื่อยแน่นอนจ้า

สาย Blue Storm Dragon, Maelstorm
     สายยอดนิยมของแคลน อควา ฟอร์ส ในช่วงภาค 2 ที่มีความสามารถในการบุกทะลวงสูงไม่แพ้ Navalgazer Dragon เลย เพราะตัวของ Maelstorm เองก็สามารถเร่งพลังได้ 16000 แล้ว อีกทั้งพลังโจมตีเริ่มต้นที่ 11000 ทำให้โจมตีก็แรง ตั้งรับก็ง่าย ฝ่ายตรงข้ามต่อบูสตีเรายากขึ้นในระดับนึง แต่การใช้สกิลของ Maelstorm นั้นระบุไว้ว่าจะต้องเป็นการโจมตีครั้งที่ 4 ในเด็คจึงจะต้องมียูนิตสำหรับเพิ่มจำนวนครั้งในการโจมตีใส่ไว้เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งในการโจมตี ก่อนจะถึงตาของ Maelstorm โจมตีนั่นเอง แต่ถ้าฝ่ายตรงข้ามเลือกไม่ป้องกันหรือป้องกันไม่ไหวแล้วล่ะก็ จะเป็นอะไรที่ได้เปรียบสุดๆ เพราะว่า ด้วยสกิล LB4 ของ Maelstorm ที่จะได้จั่วเพิ่ม 1 ใบ และ รีไทร์ R ฝ่ายตรงข้ามอีก 1 ใบ เรียกได้ว่าน่ากลัวมากๆ ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกสายหนึ่งที่น่ากลัว เพราะมีความกดดันมากๆ นี่เอง

สาย Blue Storm Supreme Dragon, Glory Maelstorm
    สายสุดยอดของแคลน อควา ฟอร์ส ในช่วงภาค 2 ด้วยความที่เป็นครอสไรด์ ของ Blue Storm Dragon, Maelstorm ทำให้ยืนพื้นด้วยพลัง 13000 อยู่แล้ว แถมตัวGlory Maelstorm ก็ยังเร่งพลังได้อีก 5000 ทำให้โจมตีเองก็ 18000 แล้ว (ที่ใจร้ายคือสกิลใช้เคาเตอร์บลาสแค่ 1 เคาเตอร์) และสกิลLB5 ของ Glory Maelstorm นั้นไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนครั้งในการโจมตี คือจะโจมตีครั้งแรกของเทิร์นนั้นก็ใช้เอคเฟคได้เลย (ทำให้สามารถอัด คริติคอลทริคเกอร์ได้เต็มที่) แล้วที่ใจร้ายที่สุดคือ เมื่อใช้ LB5 แล้ว นอกจากกจะบวกพลัง 5000 ยังมีผลทำให้ฝ่ายตรงข้ามห้ามนำเกรด 1 หรือ มากกว่าจากบนมือมาป้องกันได้ เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ใจร้ายกันสุดๆ ตีก็แรง พลังก็เยอะ นี่ห้ามเอาเกรด 1 มาป้องกันอีก แบบนี้ PG ก็ถูกห้ามใช้แน่นอนจ้า น่ากลัวมากๆ สายนี้

ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นสายที่นิยมเล่นของแคลน อควา ฟอร์ส ในช่วงภาค 2 นั่นเองจ้า จริงๆ แล้วก็จะยังมีสายอื่นๆ อีกเช่น สาย Hydro Hurricane Dragon เพียงแต่ว่าจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมาก พี่ชินจึงขอไม่พูดถึงแล้วกันจ้า ขอคัดเฉพาะสายที่เด่นๆ ดังๆ มาเป็นตัวอย่างให้ได้ชมกัน แต่ทั้งนี้ บทความนี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลเท่าอ้างอิงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาบังคับให้เล่นแต่สายที่กล่าวมาแต่อย่างใด เพราะการจัดเด็คนั้นไม่มีผิด หรือ ถูกอยู่แล้ว สามารถจัดได้ตามใจที่เราต้องการเลยจ้า

สุดท้ายนี้ก็ขอบอกไว้เลยว่าแคลน อควา ฟอร์ส นั้นจะมีบทบาทยาวๆ ไปเกินภาค 4 แน่นอน ครับ ไม่มีใครโดนผนึกเหมือนในภาค 2 แล้วจ้า

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ
โดย พี่ชิน

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์ บทบาทต่างๆ ของแคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส ในการ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 2 จ้า

     สวัสดีคร้าบ พบกันอีกครั้งกับ บทความดีๆ จากพี่ชิน โดยวันนี้ก็เช่นเคยเลยกับการ วิเคราะห์ บทบาทต่างๆ ในการ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 2 จ้า โดยในวันนี้ เป็นคราวของแคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส นั่นเอง ซึ่งแคลนนี้ก็เป็นแคลนน้องใหม่ในภาค 2 อีกด้วย และเป็นอีกแคลนหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเล่นเช่นกัน จะเป็นเพราะอะไร ยังไง ก็ไปดูกันเลยจ้า

     แคลน  แองเจิล ฟีเธอร์ส นั้นเป็นแคลนที่ปรากฏตัวครั้งแรกในภาค 2 โดยออกมาในชุด BT-06 เป็นชุดแรกนั่นเอง ซึ่งลักษณะ ธีม เด่นๆ ของยูนิตในแคลนนี้จะเป็นยูนิต สไตล์เทวดา นางฟ้า เสียส่วนใหญ่ จึงทำให้เป็นแคลนที่มีความสวยงามค่อนข้างสูง ติดใจกันไปหลายๆ คนเลยทีเดียว

     รูปแบบการเล่นที่เป็นจุดเด่นหลักๆ ของแคลนนี้ จะเป็นลูกเล่นเกี่ยวกับการ์ดใน ดาเมจโซน ซึ่งจะต่างกับ แคลนโนว่า ตรงที่ว่า โนว่าในช่วงแรกๆ จะเน้นความสามารถในการหงายดาเมจที่ใช้ไปแล้ว (แต่หลังๆ โนว่าจะเน้นแสตนรัวๆ แทน) แต่ของ  แองเจิล ฟีเธอร์ส นั้นจะเน้นเกี่ยวกับ ดาเมจโซน เต็มรูปแบบ มีทั้ง สลับการ์ดในดาเมจโซนกับบนมือ เรียกยูนิตจากดาเมจโซน ใช้สกิลจากดาเมจโซน เพิ่มพลังเมื่อมีการ์ดตกดาเมจโซน การฮีลดาเมจ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สุดที่ไม่เหมือนแคลนอื่นๆ นั่นเอง

     ผู้ที่ใช้แคลนนี้ใน ภาค2 นั้น ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นกลุ่มไอดอลสาว อัลต้าร์ แรร์ นั่นเอง (อัลต้าร์ แรร์ จริงๆ แล้วเป็นระดับความหายากของการ์ดครับ โดยจะเป็นระดับที่หายาก คนเขียนบทเลยจับมาเป็นชื่อกลุ่มเลยนั่นเอง) โดยสมาชิกในวงประกอบด้วย

     ทัตสึนางิ โคริน ซึ่งในภาค 2 นี้จะมีบทบาทในการให้กำลังใจพระเอก เซ็นโด ไอจิ ของเราพอสมควรเช่นเดียวกับ ภาค1 และจะยิ่งใกล้ชิด พระเอกของเรามากยิ่งขึ้นในภาคต่อๆ ไปด้วย ใครเชียร์ ใครจิ้นคู่นี้ก็เชียร์กันไปเลยจ้า เพียงแต่ว่า เร็กกะนั่นจะใช้แคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส เพียงแค่ใน ภาค 2 เท่านั้น พอขึ้นภาค 3 ก็จะเปลี่ยนไปเล่น รอยัล แทนครับ

     ทัตสึนางิ เร็กกะ น้อง(ตัวเล็ก)ของวง บทบาทในภาค 2 จะมีไม่ค่อยเยอะ แต่เธอเป็นคนที่เล่นแคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส ได้เก่งอีกคนหนึ่ง และเป็นคนที่ใช้แคลนนี้ยาวไปถึงภาค 3 เลยทีเดียว ดังนั้นสุดท้ายแล้ว เร็กกะ นี่เองที่เป็นคาแรคเตอร์หลักที่เล่น แองเจิล ฟีเธอร์ส นั่นเองจ้า

    ทัตสึนางิ ซุยโกะ พี่ใหญ่ของวง บทบาทในภาค 2 ก็น้อยเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นอีกคนที่เล่นแคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส ไปถึงในช่วงภาค3 (ช่วงต้น ก่อนที่ช่วงหลังจะเปลี่ยนไปเป็น Link Joker)

     ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าครับว่า แคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส นั้นมีอยู่ในชุดใดบ้าง (ณ เดือน กันยายน 2014)

Sets containing Angel Feather cards

Booster Sets:

Fighter's Collection

     ซึ่งแน่นอนว่าในช่วง ภาค2 นี้สามารถจัดเด็คแคลนนี้ได้หลายสายมากๆ แถมแต่ละสายก็น่ากลัวด้วยเช่นกัน


     สาย คิริเอล + เกรด3 อื่นๆ ที่เหมาะลงช่อง RC
     สไตล์การเล่นสายนี้ จะเน้นการใช้ คิริเอล เป็นตัวหลักในการบุก ซึ่งความน่ากลัวอยู่ที่สกิล LB4 ของคิริเอลเอง ซึ่งสามารถเร่งพลังให้เกิน 20000 ได้ง่ายมาก อีกทั้งตัวคิริเอลเองก็มีตัวบูสเฉพาะตัวอีกด้วย ทำให้สามารถเร่งพลังเป็น 26000 ในช่อง VC ได้อย่างสบาย และสามารถเร่งพลังในช่อง RC ได้ถึง 21000 ด้วย ประกอบกับการที่คิริเอลสามารถเรียกพวกได้ฟรีๆ อีก 1 ตัว จากดาเมจโซน ทำให้คิริเอล เป็นยูนิตที่มีความครบเครื่องทั้งด้านการบุก และด้านการเสริมทัพนั่นเอง สายนี้จึงเป็นสายที่นิยมมากๆ

     สาย เอลโกดิเอล
     สายนี้จะเป็นสายที่เน้นการใช้งานสกิลของ เอลโดกิเอล เป็นหลักโดยที่สกิลของ เอลโดกิเอล นั้นถ้าเราสามารถทำเงื่อนไขได้ครบถ้วนเราจะได้ฮิล 1 ใบแบบฟรีๆ กันเลยทีเดียวอีกทั้งถ้าไรด์ทับร่างเกรด 2 ได้ล่ะก็ จะสามารถยืนด้วยพลัง 11000 ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในแคลนนี้ ในตอนนี้เลยทีเดียว(เฉพาะภาค2) ทำให้ในเกมบุกเราสามารถกดดันฝ่ายตรงข้ามได้ดี เพราะฝ่ายตรงข้ามจะกลัวเราใช้สกิล หรือ ในการตั้งรับฝ่ายตรงข้ามถ้าต่อบูสไม่ดีก็จะโจมตีเราได้ลำบากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ถ้าไรด์ทับร่างเกรดต่างๆ ไปได้เรื่อยๆ เราจะมีโอกาศได้เปลี่ยนการ์ดในมือ กับ การ์ดในดาเมจโซน ค่อนข้างบ่อย ทำให้เราสามารถตั้งเกมในรูปแบบที่ต้องการ หรือ ช่วยหงาย เคาเตอร์บบลาส ที่เราใช้ไปแล้วได้นั่นเอง โดยรวมสายนี้ถ้าไรด์ติดไปเรื่อยๆ ก็จะน่ากลัวมากๆ เลยทีเดียว

    สาย Chief Nurse, Shamsiel
    รูปแบบการเล่นของสายนี้จะเน้นไปที่การสลับการ์ดในดาเมจโซนกับมือ หรือ หาการ์ดลงดาเมจโซน ให้เด่นที่สุด เพราะ รูปแลลสกิลของตัว Shamsiel จะช่วยให้เราสามารถสลับได้ 1 ครั้ง ทุกๆ เทิร์นอยู่แล้ว อีกทั้งตัว Shamsiel ก็จะได้รับการบวกพลังเมื่อมีการ์ดตกดาเมจโซน ทำให้ถ้าต้องท้ายด้วย เทาซ์ซั่น เรย์ เพกาซัส แล้วล่ะก็ สามารถเร่งพลังได้ง่ายๆ เลย แถมตัว Shamsiel นั้นถ้าตกเป็นฝ่ายรับก็จะได้เปรียบเพราะเมื่อเราโดนตี เราเสียดาเมจลงดาเมจโซน Shamsiel ก็จะได้พลังเพิ่มด้วย ทำให้ Shamsiel นั้นเป็นยูนิตที่เก่งเอามากๆ อีกตัวนึงเลยทีเดียว

     สาย Crimsom Impact, Metatron
     ต้องยอมรับว่าสายนี้อาจจะเป็นสายที่โหดที่สุดของแคลน แองเจิล ฟีเธอร์ส ในภาค 2 ก็ว่าได้ โดยสไตล์การเล่นของสายนี้จะเป็นการดึงความสามารถในการเปลี่ยนการ์ดบนมือกับดาเมจโซนออกมาให้ถึงขีดสุด อีกทั้งยังเพิ่มการ ซูพีเรียไรด์ และ การใช้เอคเฟคจาก ดาเมจโซน ไปอีก ทำให้มีลูกเล่นในการใช้สกิล และ การเพิ่มพลังสูงมากๆ โดยสกิล LB ของ Crimsom Impact, Metatron มีข้อดีมากๆ คือ เป็นสกิลประเภท ACT ทำให้สามารถหาจังหวะในการใช้งานได้ง่ายกว่า สาย Chief Nurse, Shamsiel ค่อนข้างมาก อีกทั้งสลับทีละ 2 ใบ ทำให้ยูนิตที่ได้รับผล + พลัง จากการที่การ์ดตกดาเมจโซนนั้น ได้รับพลังกันอย่างเต็มที่สุดๆ ทำให้สายนี้เป็นสายที่ถ้าติดคอมโบแล้ว สามารถเร่งพลังช่อง VC ได้ถึง 30000+ และช่อง RC ได้ถึง 25000+ นั่นเอง จึงกลายเป็นสายที่ได้รับความนิยมในการเล่นสูงมากในช่วงท้ายภาค 2 นั่นเองจ้า

     จริงๆ แล้วก็จะยังมีอีกหลายสายนะครับที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เพราะ บางสายนั้นไม่ค่อยมีคนนิยมนำมาเล่นมาก พี่ชินจึงขออนุญาติไม่กล่าวถึงด้วยนะครับ แต่แน่นอนว่าการจัดเด็คนั้น ไม่มีผิด ไม่มีถูก อยู่ที่ตัวเราว่าเราชอบ เราถนัด แบบไหน ค่อยๆ ลองปรับไปเรื่อยๆ ครับ แต่ถ้าใครรักใครชอบแคลนนี้ รับรองไม่ผิดหวังแน่จ้า 

ขอบคุณที่ติดตามครับ
โดย พี่ชิน

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์บทบาทแคลน ชาโดว์ พาลาดิน ในการ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 2

     สวัสดีทุกๆ คนอีกเช่นเคยจ้า พี่ชินเองคร้าบ สำหรับในวันนี้เราจะมาดูกันว่า 1 ใน 3 แคลนที่ถูกปิดผนึกไปใน การ์ตูน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค2 หรือ ก็คือแคลน ชาโดว พาลาดิน นั้น จะมีบทบาทในภาค 2 อย่างไรบ้างนั่นเอง แต่ก่อนที่จะมาว่ากัน ก็คงต้องขอย้อนกลับไปดูความยิ่งใหญ่ของแคลน ชาโดว พาลาดิน ในภาค 1 นี้ก่อนจ้า ว่าเขาเคยสร้างปรากฏการณ์อะไรไว้บ้าง

     แคลนชาโดว พาลาดิน นั้น เป็นแคลนที่จะปรากฏในช่วง กลางเรื่อง ของการ์ตูน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 1 โดยผู้ใช้คือ สึซึกาโมริ เร็น นั่นเอง โดยการปรากฏตัวครั้งแรกนั้น ได้สร้างความฮือฮามากๆ ให้กับคนที่ดูการ์ตูน หรือ เห็นตัวการ์ด เพราะแคลนนี้ใช้การปรากฏตัวด้วยยูนิตเกรด 2 บลาสเตอร์ดาร์ค นั่นเอง

     และแน่นอนว่าด้วยความที่ดูเป็นสายมือ ซึ่งตรงข้ามกับสายสว่างอย่าง บลาสเตอร์เบลด ทำให้ดูมีความเท่ห์อย่างมาก (ตรงนี้ต้องยอมรับคนสร้างจับประเด็นได้ดี เพราะคนเราส่วนใหญ่เวลาเห็นอะไรที่เป็นด้านตรงกันข้ามอย่างสุดขั่ว จะก่อให้เกิดความหลงไหลออกมาเป็นกรณีพิเศษ) ซึ่งแน่นอนว่า ในช่วงที่แคลนนี้วางจำหน่ายครั้งแรก ก็มีคนสนใจและจับแคลนนี้ไปเล่นกันอย่างล้นหลามเลยทีเดียว

     สำหรับผู้ที่ใช้แคลนนี้นั้นในภาค 1 จะมี 2 คน คนแรกคือตัว สึซึกาโมริ เร็น และอีกคนคือ เซ็นโด ไอจิ พระเอกของเราที่โดนพลัง ไซควอเรีย เข้าครอบงำ จนตกไปอยู่ด้านมืดนั่นเอง

     สไตล์การเล่นของแคลนนี้นั้นต้องบอกว่ามีความคล้ายคลึงกับ แคลนรอยัล พาลาดิน พอสมควร คือมีความสามารถในการเรียกเพื่อนๆ อย่างว่องไว แต่จะมีจุดแตกต่างที่ยูนิต เกรด 3 ที่มีความสามารถในการเร่งพลัง แต่จะต้องชดเชยด้วยการเสียสละพวกพ้องแทน จุดนี้จึงเป็นจุดที่ออกจะตรงกันข้ามกับ รอยัล พาลาดิน ชัดเจนที่สุด


     สำหรับแคลนนี้นั้นได้มีการปรากฏตัวครั้งแรกในชุด BT-04 และก็ออกมาตามมาอีกเรื่อยๆ ยกเว้นในภาค 2 ที่โดนปิดผนึกไปทำให้มีเสริมเพียงเล็กน้อยในชุด EB-03 และ BT-09 ก่อนที่จะกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ในภาค3 พร้อมกับชุด TD ประจำตัวนั่นเอง

รายชื่อการ์ดที่มีแคลนชาโดว พาลาดิน ออก (ณ ปัจจุบัน เดือนกันยายน 2557)

Booster Sets:

Extra Boosters:

Trial Decks:

Starter Sets

Fighter's Collection

     ในภาค 1 นั้น ได้มีสายการเล่นของแคลน ชาโดว พาลาดิน ต่างๆ ดังนี้

สาย แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน
     สายนี้เป็นสายแรกเริ่มของผู้ที่เล่นแคลนนี้เลยก็ว่าได้ ด้วยความโหดร้ายของ เกรด 3 อย่าง แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน ที่สามารถเร่งพลัง และ คริติคอล ให้กับตัวเองได้ ทำให้ถ้าเล็งใช้ในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่มี PG บนมือแล้วล่ะก็จะเป็นอะไรที่น่ากลัวสุดๆ นอกจากนี้ตัวแคลน ชาโดว พาลาดิน ก็มีความสามารถในการเรียกพวกไว อยู่แล้ว ทำให้ถึงจะใช้สกิลรีไทร์พรรคพวกเพื่อเร่งพลังของ แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน ไป ก็ยังสามารถหาตัวมาเติมได้อย่างรวดเร็วมากๆ อยู่ดี ดังนั้นจึงเป็นสายที่ค่อนข้างจะมีความสมดุลสูงอีกสายหนึ่งเลยทีเดียว

สาย ดาร์ค เมทัล ดราก้อน
    สายนี้เป็นสายที่อาจจะไม่ค่อยได้เห็นมากนัก แต่ความเก่งกาจก็ไม่ได้น้อยไปกว่าสายอื่นเลย เพราะยูนิตหลักของแคลนนี้คือ  ดาร์ค เมทัล ดราก้อน ที่ทุกครั้งที่ไดรฟ์เช็คได้แคลน ชาโดว พาลาดิน (ซึ่งก็น่าจะเจออยู่แล้ว) จะได้พลังเพิ่ม ทำให้แค่โจมตีเองเพียวๆ ก็เร่งพลังได้ถึง 16000 แล้ว ยิ่งต่อบูสซัก 7000 ขึ้นไปก็สามารถบุกใสฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสบายๆ นั่นเอง นอกจากนี้ตัว ดาร์ค เมทัล ดราก้อน นั้นไม่กิน เคาเตอร์บลาสเลย จึงทำให้สามารถใส่ยูนิตซํพพอร์ทอื่นๆ ที่กินเคาเตอร์บลาสได้อย่างเต็มที่ สายนี้จึงเป็นสายชาโดว ที่มีความเป็นรอยัลสูง และไม่เน้นการรีไทร์นั่นเอง


สาย แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด
     สุดยอดของสายชาโดว พาลาดิน สาย แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเด็คบอสของภาค 1 ด้วยเช่นกัน โดยสไตล์การเล่นของสายนี้จะเน้นไปที่การ ครอสไรด์ และเรียกพวกอย่างรวดเร็ว โดยที่ตัว  แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด นั้นสามารถที่จะไรด์ลงได้เลยถึงแม้ว่าจะไม่เจอร่างแรกก็ตาม เพราะมียูนิตที่ช่วยนำเข้าโซลอย่าง ไนท์แมร์ เพนท์เตอร์ อยู่ ทำให้การครอสไรด์ของแคลนนี้ง่ายกว่าแคลนอื่น (ยกตัวอย่างเช่น ดิเอนด์ ถ้าหลุดครอสไรด์แล้วจะหลุดไปเลยเพราะไม่มีตัวช่วยเอาเข้าโซล) นอกจากนี้ด้วยการที่ครอสไรด์แล้วยืนด้วยพลัง 13000 ทำให้สามารถตั้งรับได้อย่างสบายขึ้นมาก อีกทั้งสกิลของ  แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด นั้นถ้าเล็งใช้ให้ถูกจังหวะล่ะก็ จะเป็นอะไรที่น่ากลัวสุดๆ นั่นเอง สายนี้จึงเป็นสายหนึ่งที่ได้รับความนิยมเล่นอย่างล้นหลาม อีกทั้งยังคงความแข็งแกร่งเรื่อยมาในภาค 2 แม้จะไม่มีลิมิตเบรกนั่นเอง

     แต่เช่นเคยเนื่องจากเนื่องเรื่องในภาค 2 ทำให้แทบจะไม่มีแคลนชาโดวพาลาดินออกมาเลย แต่ก็จะยังพอมีเกรด 3 จากชุด EB-03 ที่พอจะนำมาจัดเพิ่มเติมเป็นสายใหม่ได้ นั่นก็คือ


สาย Origin Mage, Ildona 
     สายนี้นั้นจะใช้ตัวเกรดอื่นๆ แทบทั้งหมดเป็นยูนิตก่อนหน้านี้ แต่ก็เพียงพอที่จะเล่นเป็นสายใหม่อีก ด้วยความที่ตัว อิลโดน่า เองมีความสามารถในการเร่งพลังและช่วยจั่วทำให้สามารถปรับบอร์ดและเรียกพวกมาตีได้เรื่อยๆ แถมด้วยความที่แคลน ชาโดว พาลาดิน เองก็มีความสามารถในการเติมเกมรุกอยู่แล้ว ทำให้สายนี้มีพลังในการเดินเกมได้ไวมาก มือเยอะ จึงเป็นอีกสายนึงที่น่านำไปเล่นแก้เบื่อในช่วงภาค 2 นั่นเองจ้า


     ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นบทบาททั้งหมดของแคลน ชาโดว พาลาดิน ในภาค 2 ก่อนที่จะกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ในภาค 3 ซึ่งขอบอกไว้เลยว่าในภาค 3 นั้นแคลน ชาโดว พาลาดิน จะมียูนิตออกมาเสริมทัพเพียบ สกิลใหม่ๆ ลูกเล่นใหม่ๆ สำหรับสาวกแคลนนี้อดใจรอกันได้เลยจ้า

ขอบคุณที่ติดตามคร้าบ
โดย พี่ชิน


วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์บทบาท แคลน นารุคามิ ในการ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค2 จ้า

     สวัสดีคร้าบ กลับมาพบกับช่วงบทความของพี่ชินอีกเช่นเคยจ้า โดยในวันนี้เราก็จะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับแคลน "นารุคามิ" ที่มีการปรากฏตัวครั้งแรกใน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 2 นั่นเอง ซึ่งผู้ใช้ก็มิใช่ใครอื่น "โทชิกิ ไค" นั่นเอง

     ถ้าใครเคยดูการ์ตูนภาค 1 มาล่ะก็ คงจะจำกันได้ดีว่า โทชิกิ ไค จะมีแคลนประจำตัวเป็นแคลน "คาเงโร่" แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องในภาค 2 ที่มีพลังลึกลับทำการปิดผนึก 3 แคลนดัง อันได้แก่ รอยัลพาลาดิน ชาโดวพาลาดิน และ คาเงโร่ไป ทำให้ทุกๆ คน(ยกเว้นพระเอก เซ็นโด ไอจิ) ลืมแคลนดังกล่าวไปหมด และเข้าใจว่าทั้ง 3 แคลนนั้นไม่เคยมีมาก่อน โทชิกิ ไค ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะจำแคลนเก่าไม่ได้ แต่เมื่อไม่มีแคลนเก่า(คาเงโร่)ให้เล่นแล้ว บทบาทเลยตกมาเป็นของแคลน นารุคามิ ให้ โทชิกิ ไค หยิบแคลนนี้ไปเล่นนี่เอง

     สำหรับแคลน นารุคามิ นั้น จะเป็นแคลนที่มีภาพรวมเกี่ยวกับสายฟ้า โดยจะมีทั้ง นักรบ และ มังกรต่างๆ เป็นหลัก ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับ แคลน คาเงโร่ อยู่บ้างพอสมควรเลย ต่างกันที่ คาเงโร่ เป็นไฟ นารุคามิ เป็นสายฟ้า เท่านั้นเอง
   
     สไตล์การเล่นของแคลน นารุคามิ จะเป็นสไตล์เน้นการทำลาย RC ฝ่ายตรงข้าม เช่นเดียวกับคาเงโร่ แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เพราะนารุคามิ จะเน้นการทำลายด้วยการโจมตี มากกว่า ทำลายด้วยสกิล (แต่ก็มีสกิลไว้สำหรับทำลายด้วยนะแต่อาจไม่เยอะเท่าคาเงโร่) ซึ่งบ่งบอกความเป็นตัวตนของ โทชิกิ ไค ได้ดีเช่นกัน

     สำหรับแคลนนารุคามิ ในภาค 2 จะมีอยู่ในการ์ดชุดต่างๆ ดังนี้
     ซึ่งพี่ชินอยากจะแอบบอกนิดนึงว่า โทชิกิ ไค นั้นแอบน่าสงสารอยู่นิดหน่อย เพราะปกติทั้งเรื่องในภาค 1 และ 2 จะไม่แพ้ใครเลย แต่สุดท้ายก็จะไปแพ้บอส(หัวหน้า) ประจำภาคอยู่ดี ทำให้น่าแอบน้อยใจอยู่นิดๆ (จนสุดท้ายพี่ไคเลยไปเป็นบอสในภาค 3 ประชดชีวิตซะเลย) แต่ถึงจะแพ้ในการ์ตูน แต่ตัวเด็คก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เก่งไปด้วย สำหรับ แคลน นารุคามิ นั้นก็เป็นอีกแคลนหนึ่งที่มีความเก่งกาจสูงมาก ไม่แพ้แคลนอื่นเลย โดยในภาค 2 จะมีสายต่างๆ ดังนี้

     สาย ธันเดอร์เบรกดราก้อน + เกรด 3 อื่นๆ
     สไตล์การเล่นแบบแรกสุดเลย ของแคลน นารุคามิ ซึ่งตัวหลักก็คือตัวหน้ากล่อง TD-06 ธันเดอร์เบรก ดราก้อน นั่นเอง ด้วยความสามารถที่ตัดเกมฝ่ายตรงข้าม และ สกิล LB4 ที่สามารถเร่งพลังตัวเองได้อย่างง่ายๆ จึงเป็นสายที่มีความสามารถสูงอีกสายหนึ่งเลยทีเดียว แต่อาจจะเปลืองงบหน่อยเพราะเราต้องใช้ตัวหน้ากล่องเยอะนั่นเองจ้า
 
     สาย ดราโกนิค ไคเซอร์ เวอร์มิลเลี่ยน + เกรด 3 อื่นๆ
     สายนี้จะเป็นสายที่ค่อนข้างจะตัดเกมฝ่ายตรงข้ามได้หนักมากๆ อีกสายหนึ่งเลยก็ว่าได้ ด้วยสกิล LB4 ของตัวเด็ด ดราโกนิค ไคเซอร์ เวอร์มิลเลี่ยน ที่เมื่อเงื่อนไขครบแล้วจะสามารถตีแถวหน้าฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดในทีเดียวได้ จึ่งเป็นการตัดเกมฝ่ายตรงข้ามที่ได้ผลดีมากๆ (เพราะถ้าฝ่ายตรงข้ามมีเรียลแถวหน้าครบก็อาจจะโดนเราตีหมดไปเลยในทีเดียวก็ได้) ทำให้สายนี้เกือบจะเป็นสายสามัญในช่วงยุคแรกๆ ของนารุคามิไปเลยก็ว่าได้

     สาย Dragonic Kaiser Vermillion "THE BLOOD" 
     ซึ่งสายนี้เรียกได้ว่าไปสายที่อัพเกรดจากสาย ดราโกนิค ไคเซอร์ เวอร์มิลเลี่ยน ขึ้นไปอีก เพราะนี่เป็นร่างครอสไรด์นั่นเอง โดยยูนิตนี้จะออกมาในชุด BT-09 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของภาค2 แล้ว บทบาทในการ์ตูนอาจจะมีน้อยไปหน่อย แต่ความแข็งแกร่งเป็นเรื่องจริงแน่นอน เพราะถ้าครอสไรด์ติด เราจะสามารถตั้งรับการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย อีกทั้งยังมีการตัดเกมด้วยวิธีต่างๆ อยู่อีกเพียบ ทำให้สายนี้เป็นอีกสายหนึ่งที่ได้รับความนิยมนั่นเอง

     จริงๆ จะมีสายอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก เช่น สาย Sealed Demon Dragon, Dungaree 
เพียงแต่ว่าในตอนนี้จะยังไม่เก่งมาก รอร่างครอสไรด์ออกมาตอน BT-12 จะดูเก่งมากกว่านั่นเอง
ทั้งหมดก็คือบทบาทของแคลน นารุคามิ ใน ภาค2 นี้เองจ้า ต้องยอมรับนิดนึงว่าบทบาทอาจจะน้อยไปหน่อย แต่ความเก่งกาจไม่หน่อยแน่นอนครับ
ขอบคุณที่ติดตามอ่านจ้า
by พี่ชิน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

บทความแวนการ์ด เลือกชุดการ์ดให้เหมาะกับตัวเอง

บทความแวนการ์ด 
เลือกชุดการ์ดให้เหมาะกับตัวเอง
            สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน พี่ชินครับ สวัสดีครับ สำหรับหลายๆ ท่านที่เคยเล่นเกมการ์ดสุดฮิตที่กำลังโด่งดังในบ้านเราตอนนี้ซึ่งก็คือ การ์ดไฟท์แวนการ์ด (Cardfight Vanguard) นั้นก็อาจจะรู้จักพี่ชินไม่มากก็น้อย แต่สำหรับหลายๆ คนที่ไม่รู้จักกัน ก็ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ ณ ที่นี้ด้วยคร้าบสวัสดีครับ

            สำหรับในวันนี้ พี่ชิน ก็จะขอแนะนำเกี่ยวกับการจัดชุดการ์ด หรือ การเลือกการ์ด ให้เหมาะกับสไตล์ การเล่นของน้องๆ ครับผม เพราะว่าในการเล่นเกมการ์ด หรือ การ์ดเกมนั้น จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการต่อสู้กัน ก็คือการจัดชุดการ์ดของเรานั่นเอง บางคนอาจจะใช้เวลาในการคิด ลองผิดลองถูกหลายๆ ครั้ง ถึงจะประสบความสำเร็จในการจัดชุดการ์ดของตัวเอง แต่ก็มีอีกหลายๆ คนที่คิดไม่ออกว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี ดังนั้นอย่ารอช้าครับไปลุยกันเลยดีกว่าว่าในวันนี้พี่ชินมีเทคนิคอะไรมาช่วยน้องๆ บ้าง

            อย่างแรกสุดเลยพี่ชินอยากจะให้น้องๆ ลองถามใจตัวเองดูก่อนครับว่า แรงบันดาลใจที่เราหันมาจับ หรือ หันมาเล่น การ์ดไฟท์แวนการ์ด (Cardfight Vanguard) นั้นคืออะไร จุดนี้ค่อนข้างสำคัญครับ แรงบันดาลใจนี่แหละ จะช่วยให้เราเข้าถึงความสนุกในการจัดชุดการ์ดของเราได้นั่นเอง ลองนึกย้อนไปดูครับว่าวินาทีแรกที่เรารู้สึกอยากเล่นนั้น มาจากอะไร ยกตัวอย่างเช่น โอ้โห ตัวนี้เท่ห์จัง อยากใช้บ้างจัง หรือว่า โอ้โหคอมโบแบบนี้ใช้แล้วดูหล่อสุดๆ ไปเลย ดังนั้นเราจะเอาความรู้สึกเหล่านี้มาเพาะบ่มให้เติบโตขึ้นกันดีกว่าครับ

            ให้เราเลือกออกมาซักหนึ่งใบครับ ใบที่น้องๆ คิดว่ายังไง ก็ต้องเล่นตัวนี้/ใบนี้ให้ได้ เมื่อเลือกได้แล้ว ให้เรามองความสามารถของเขาให้ลึกซึ้งครับ ค่อยๆ คิดจากการเอาการ์ดตัวที่เราชอบเป็นจุดศูนย์กลาง จากนั้นค่อยๆ ขยายวงออกไปเหมือนกับน้ำที่หยดลงบนแอ่งน้ำใหญ่ๆ ให้เราค่อยๆ มองหา การ์ดใบอื่นๆ ที่จะมาช่วยเสริมความสามารถของการ์ดใบที่เราชอบให้ดูโดดเด่นขึ้น หรือ หาการ์ดใบอื่นๆ ที่ต้องการพลังจากตัวที่เราชอบไปเสริม จากนั้นก็ค่อยๆ เชื่อมโยงไปเรื่อยๆ ทีละใบ ทีละใบครับ แล้วน้องๆ ก็จะค่อยๆ เห็นชุดการ์ดของน้องขึ้นมาลางๆ ครับ ว่าเรามีอะไรที่สามารถนำมาเล่นด้วยกันได้บ้าง แล้วเราก็นำสิ่งที่เราได้มาไปลองทดลองเล่นดูครับ เพราะแน่นอนครับว่า ป้อมปราการไม่สามารถสร้างเสร็จได้ในคืนเดียว เช่นเดียวกันกับชุดการ์ดที่เก่งๆ ก็ไม่สามารถจัดเล่นได้ในการจัดเพียงครั้งเดียว ลองเอาไปทดลองหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เราเห็นข้อดีข้อเสีย ค่อยๆ ปรับไปทีละขั้นตอน ค่อยๆ ให้ความคิดของเราตกผลึกเป็นรูปเป็นร่าง ที่สำคัญคือ อย่ายอมแพ้ครับ การแพ้บ่อยๆ มันคือประสบการณ์ที่จะช่วยให้เราทราบว่าเรามีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง จนในที่สุด พี่ชิน เชื่อว่าถ้าน้องไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน น้องจะได้ชุดการ์ดที่โดดเด่นในแบบของตัวน้องๆ เองแน่นอนครับ

            จริงๆ แล้วก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่นักเล่นการ์ดหลายๆ คน นิยมใช้กัน ก็คือการ คัดลอก ชุดการ์ดของคนเก่งๆ มานั่นเองครับ จริงๆ แล้ววิธีนี้ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ เพราะมันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราได้รู้แนวความคิดของคนเล่นเก่งๆ นั่นเองว่า เขาคิดด้วยมุมมองแบบไหน และ มีแนวทางในการเล่นอย่างไร เพียงแต่ว่าอยากให้นึกไว้เสมอว่า คนเราทุกคนมีความคิดต่างๆ กันครับ จริงอยู่ว่าชุดการ์ดนั้นเหมือนกัน แต่รูปแบบการเล่นนั้นย่อมมีจุดที่ต่างกันแน่นอนไม่มากก็น้อย ดังนั้น คัดลอกมาเล่นได้ครับ แต่อย่าหยุดแค่นั้น ให้หาทางต่อยอดความคิด และ ปรับปรุงให้ดีมากขึ้น มากขึ้นไปอีกครับ อย่าหยุดเพียงแค่นี้ครับ เพราะอีกความสนุกของการเล่นเกมการ์ดนั้นก็อยู่ที่การจัดชุดการ์ดของเรานี่เอง
            สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากไว้ครับว่า จงอย่ากลัวที่จะริเริ่มทำอะไร เพราะถ้าเราไม่เริ่มสิ่งใดขึ้นมา เราก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จครับ ซึ่งข้อคิดนี้สามารถนำไปใช้ประยุกต์กับชีวิตจริงในอนาคตได้แน่นอนจ้า

            จงอย่ากลัวที่จะเริ่ม และจงเริ่มโดยปราศจากความกลัว ไอจิ เซ็นโด ไม่ได้กล่าวไว้

โดย พี่ชิน

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

วิเคราะห์บทบาทของแคลน คาเงโร่ ในการ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค2


     สวัสดีคร้าบ มาพบกับพี่ชินเช่นเคยจ้า โดยในวันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงแคลนสุดฮิทติดชาร์ทตลอดกาล อีกแคลนหนึ่ง นั่นก็คือแคลน คาเงโร่ นั่นเองครับผม สำหรับแคลน คาเงโร่ นี้จะมีการปรากฏตัวตั้งแต่ตอนแรกของภาค 1 เลย (แต่ไม่ใช่แคลนแรกสุดนะครับ แคลนที่ปรากฏตัวแรกสุดน่าจะเป็น แคลนสไปค์บราเธอร์ส) โดยผู้ใช้แคลนนี้คนแรกคือ โทชิกิ ไค นั่นเอง เพียงแต่ว่าในช่วงภาค 1 นั้น คนที่ใช้แคลนคาเงโร่จะไม่ได้มีแต่ โทชิกิไค ผู้เดียว จะมีคนอื่นๆ ที่ใช้แคลนคาเงโร่ด้วย เช่น มิวะ (เพื่อนของ ไค) หรือ อื่นๆ อีกมากมาย เพียงแต่ว่าคนที่ดึงความสามารถออกมาได้มาก และ ชนะบ่อยที่สุด ก็คือ โทชิกิ ไค นั่นเอง


     โดยรูปแบบการเล่นส่วนใหญ่ของแคลนนี้จะเน้นที่การ ทำลายเรียลการ์ด ของฝ่ายตรงข้ามด้วยสกิลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการตัดเกมส์ฝ่ายตรงข้าม และ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามโต้กลับเรามาได้อย่างยากลำบากนั่นเอง เป็นผลให้แคลนนี้มีความสามารถในการบุกค่อนข้างจะสูงมาก อีกทั้งยังคอยปรับรูปแบบเกมให้เข้าทางเราไปด้วย จึงมีคนจำนวนมากนิยมนำแคลนนี้ไปใช้ในการแข่งขันนั่นเอง

     ซึ่งในภาค 1 นั้นได้มีเด็คสาย คาเงโร่ ออกมาหลากหลายสายมาก โดยมีสายต่างๆ ที่ได้รับความนิยมดังนี้

1.  สาย ดราโกนิค โอเวอร์ ลอร์ด + เกรด 3 อื่่นๆ
     สายสามัญเริ่มต้นของแคลนนี้ครับ โดยสายนี้จะยังไม่ค่อยมีอะไรที่หวือหวาหรือเฉพาะตัวมาก แต่สามารถนำไปเล่นผสมกับเกรด 3 ตัวอื่นๆ ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับว่าจะเล่นกับอะไร เพราะลำพังตัว ดราโกนิค โอเวอร์ ลอร์ด เดี่ยวๆ ก็เก่งจนแทบจะไม่ต้องการตัวอื่นๆ มาต่อคอมโบแล้ว เก่งทั้งอยู่ช่อง V หรือ R ทำให้เป็นตัวยอดนิยมที่ใส่ในคาเงโร่ทุกเด็คนั่นเอง อีกทั้งพลังโจมตีที่เริ่มต้นด้วย 11000 ทำให้การโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามโจมตีเข้ามาลำบากพอสมควร อาจจะมีข้อเสียนิดๆ ตรงที่ต่อพลังให้ถึง 20000 ขึ้นไปยากไปบ้าง แต่ก็สามารถชดเชยได้ด้วยการตัดเกมฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง

2.  สาย บลาสซิ่งแฟลร์ ดราก้อน
     สายนี้จะเป็นสายที่เน้นการใช้งาน เกรด 3 ตัวใหม่ ที่ปรากฏในตัว BT-02 เป็นหลัก โดยสไตล์การเล่น จะยังคงความเป็นคาเงโร่ คือเน้นทำลายเรียลฝ่ายตรงข้ามเช่นเดิม แต่จะมีความรุนแรงมากขึ้น ทำลายบ่อยครั้งขึ้น และตัวบลาสซิ่งแฟลร์ ดราก้อน ก็สามารถซูพีเรียไรด์ได้อีกด้วย ทำให้รูปแบบการเล่นนั้นรุนแรงขึ้นนั่นเอง ซึ่งตัว บลาสซิ่งแฟลร์ ดราก้อน นั้นสามารถแสดงความสามารถได้ดีไม่ว่าจะอยู่ช่อง VC หรือ RC ประกอบกับในชุด BT-02  มียูนิตที่ช่วยทำลายเรียลฝ่ายตรงข้ามเพิ่มมาอีกทำให้สายนี้มีความสามารถในการตัดเกม และ เร่งพลังแบบสุดๆ นั่นเอง ยิ่งถ้าเพิ่มตัวเสริมจากชุด BT-03 เข้าไปอีก จะทำให้รูปแบบการเล่นรุนแรงมากๆ นั่นเอง

3. สาย แอมเบอร์ ดราก้อน
    สำหรับสายนี้จะเป็นสายที่มีการประยุกต์ให้เข้ากับยุคปัจจุบันมากขึ้น โดยจะเป็นสายที่เน้นการไรด์ร่างวิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆ ตั้งแต่เกรด 0 ไปจนถึงเกรด 3 แต่ก็อาจจะมีข้อเสียคือมีโอกาศหลุดการวิวัฒนาการไปอยู่บ้าง แต่ถึงจะหลุดสายแต่ก็ยังสามารถคงความเก่งกาจได้อยู่ดี โดยสไตล์ของสายนี้จะเป็นการเน้นกดดันให้ป้องกัน มากกว่าเน้นยิงทำลาย โดยความสามารถส่วนใหญ่จะเป็นความสามารถที่เกิดขึ้นเมื่อโจมตีฮิทนั่นเอง

4. สาย ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด ดิ เอนด์
    ต้องบอกว่าสายนี้คือสายที่เป็นสายที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาผู้ที่เล่นแคลนคาเงโร่ และก็เป็นสายที่น่ากลัวอันดับต้นๆ ในช่วงภาค 1 เลยทีเดียว โดยที่ตัวเด็ดของเด็คนี้ก็คือ ร่างครอสไรด์ ของ  ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด  ซึ่งก็คือ  ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด ดิ เอนด์ นั่นเอง ซึ่งความน่ากลัวของสายนี้นั่นก็คือ ความสามารถด้านต่างๆ ที่มากมายเหลือเกิน ในด้านพลังบุกก็น่ากลัวอยู่แล้ว เพราะตัว ดิ เอนด์ นั้น ถ้าสามารถครอสไรด์ได้สำเร็จล่ะก็จะสามารถบุกด้วยพลัง 13000 ได้ ทำให้หาตัวมาต่อบูสง่ายมาก ถ้าไม่เจอ ครอสไรด์ด้วยกันเองล่ะก็สบายสุดๆ อีกทั้งยังมีตัวบูสเฉพาะทางด้วยอีกทำให้สามารถเร่งพลังทะลุ 20000 ได้สบาย นอกจากนี้ในชุด BT05 ก็ยังมียูนิตต่างๆ ที่ออกมาเสริมพลังให้กับ ดิ เอนด์ ของเราอีก เรียกได้ว่ามาทีไม่ได้มาคนเดียว พาพรรคพวกมาเพียบเลย ในด้านการตั้งรับก็น่ากลัวไม่แพ้กัน เพราะว่าตัว ดิ เอนด์ มีความสามารถในการแสตนตัวเอง ทำให้สามารถเร่งการ์ดบนมือให้มากขึ้น และ เพิ่มจำนวนครั้งในการ ไดรฟ์เช็คด้วย ยิ่งถ้าครอสไรด์ติด ฝ่ายตรงข้ามจะโจมตีเราได้อย่างยากลำบากมาก อีกทั้งยังไงแคลนนี้ก็คือแคลนคาเงโร่ เรื่องของการตัดเกมฝ่ายตรงข้ามด้วยการทำลายเรียลฝ่ายตรงข้ามก็ยังอยู่ ทำให้เกมรับของเราสามารถรับมือได้อย่างสบายๆ ดังนั้น สาย ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด ดิ เอนด์ จึงเป็นสายที่แทบจะเห็นบ่อยมากๆ ที่สุด พอๆ กับ รอยัลสาย มาเจสตี้ เลยก็ว่าได้ ยิ่งเป็นการแข่งขันล่ะก็จะเห็นเอามาลงแข่งกันเป็นประจำ เพราะ มันสมดุลทั้งรุกและรับ นั่นเอง

เพียงแต่ว่าพอเข้าสู่ช่วงท้าย ภาค1 และ กำลังจะขึ้นภาค 2 ได้มีการประกาศริสติคเกิดขึ้น ทำให้ใส่  ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด ดิ เอนด์ ได้เต็มที่ ไม่เกิน 2 ใบ ทำให้สายนี้นั้นลดความน่ากลัวลงไปมากพอสมควรเลยทีเดียว อีกทั้งใน ภาค 2 ตามเนื้อหาในการ์ตูนที่ แคลน คาเงโร่ ถูกผนึกไปพร้อมๆ กับ รอยัล และ ชาโดว ทำให้แทบจะไม่มีการ์ดคาเงโร่ออกมาในภาค 2 เลย แต่ก็ไม่ต้องน้อยใจครับ เพราะ ในชุด EB03 จะแอบมี คาเงโร่ ให้เราได้นำไปใช้กันนิดหน่อย และก่อให้เกินสายใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ


5. สาย Dragonic Lawkeeper
    โดยสายนี้จะเน้นที่การใช้สกิล LB4 ของ Dragonic Lawkeeper นั่นเอง ซึ่งเป็นความสามารถที่่ค่อนข้างน่ากลัวมาก เพราะจะทำการ ไบน์ เรียลการ์ดของฝ่ายตรงข้ามทั้งหมด ทำให้เหมือนกับเป็นการปิดผนึกการอินเตอร์เซปนั่นเอง นอกจากนี้จะส่งผลให้ยูนิตบางตัว ในแคลน คาเงโร่ ที่สกิลจะทำงานเมื่อฝ่ายตรงข้ามมีเรียลการ์ดน้อยๆ ทำงานด้วย ทำให้สายนี้เป็นอีกสายหนึ่งที่เล่นง่าย ต่อพลังง่าย อีกสายหนึ่งนั่นเองจ้า

นี่ก็คือบทบาททั้งหมดของแคลนคาเงโร่ใน ภาค2 และ ย้อนไปถึง ภาค1 ด้วยนั่นเองจ้า ใครที่รักชอบ คาเงโร่ ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ เพราะในอนาคต ดราโกนิค โอเวอร์ลอร์ด ดิ เอนด์ จะกลับมาใส่ได้ 4 ใบ เต็มๆ เหมือนเดิมแน่นอน อีกทั้งพอเข้าช่วงภาค 3 คาเงโร่ก็จะกลับมา ผงาด และ ยึดครองตำแหน่งเด็คสุดแกร่งอันดับต้นๆ อีกแน่นอนครับ (แอบบอกเลยว่าน่ากลัวมากครับ ในภาค 3 คาเงโร่จะมีแสตนแวนการ์ดขึ้นมาไล่ตีอีกแน่นอน อีกทั้งยังมี ดราโกนิค โอเวอร์ ลอร์ด ร่างใหม่ๆ มาอีก อูยโหดมั่กๆ )

ขอบคุณที่อ่านกันจ้า หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ ไม่ม่ากก็น้อยนะคร้าบ
แต่สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อนจ้า
by ชิน แวนการ์ด