บทความแวนการ์ด
เลือกชุดการ์ดให้เหมาะกับตัวเอง
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน พี่ชินครับ
สวัสดีครับ สำหรับหลายๆ
ท่านที่เคยเล่นเกมการ์ดสุดฮิตที่กำลังโด่งดังในบ้านเราตอนนี้ซึ่งก็คือ
การ์ดไฟท์แวนการ์ด (Cardfight
Vanguard) นั้นก็อาจจะรู้จักพี่ชินไม่มากก็น้อย
แต่สำหรับหลายๆ คนที่ไม่รู้จักกัน ก็ขอฝากเนื้อฝากตัวไว้ ณ
ที่นี้ด้วยคร้าบสวัสดีครับ
สำหรับในวันนี้ พี่ชิน
ก็จะขอแนะนำเกี่ยวกับการจัดชุดการ์ด หรือ การเลือกการ์ด ให้เหมาะกับสไตล์
การเล่นของน้องๆ ครับผม เพราะว่าในการเล่นเกมการ์ด หรือ การ์ดเกมนั้น
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการต่อสู้กัน ก็คือการจัดชุดการ์ดของเรานั่นเอง
บางคนอาจจะใช้เวลาในการคิด ลองผิดลองถูกหลายๆ ครั้ง
ถึงจะประสบความสำเร็จในการจัดชุดการ์ดของตัวเอง แต่ก็มีอีกหลายๆ
คนที่คิดไม่ออกว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี ดังนั้นอย่ารอช้าครับไปลุยกันเลยดีกว่าว่าในวันนี้พี่ชินมีเทคนิคอะไรมาช่วยน้องๆ
บ้าง
อย่างแรกสุดเลยพี่ชินอยากจะให้น้องๆ
ลองถามใจตัวเองดูก่อนครับว่า แรงบันดาลใจที่เราหันมาจับ หรือ หันมาเล่น
การ์ดไฟท์แวนการ์ด (Cardfight
Vanguard) นั้นคืออะไร
จุดนี้ค่อนข้างสำคัญครับ แรงบันดาลใจนี่แหละ
จะช่วยให้เราเข้าถึงความสนุกในการจัดชุดการ์ดของเราได้นั่นเอง
ลองนึกย้อนไปดูครับว่าวินาทีแรกที่เรารู้สึกอยากเล่นนั้น มาจากอะไร ยกตัวอย่างเช่น
“โอ้โห ตัวนี้เท่ห์จัง อยากใช้บ้างจัง” หรือว่า “โอ้โหคอมโบแบบนี้ใช้แล้วดูหล่อสุดๆ
ไปเลย” ดังนั้นเราจะเอาความรู้สึกเหล่านี้มาเพาะบ่มให้เติบโตขึ้นกันดีกว่าครับ
ให้เราเลือกออกมาซักหนึ่งใบครับ
ใบที่น้องๆ คิดว่ายังไง ก็ต้องเล่นตัวนี้/ใบนี้ให้ได้
เมื่อเลือกได้แล้ว ให้เรามองความสามารถของเขาให้ลึกซึ้งครับ ค่อยๆ
คิดจากการเอาการ์ดตัวที่เราชอบเป็นจุดศูนย์กลาง จากนั้นค่อยๆ
ขยายวงออกไปเหมือนกับน้ำที่หยดลงบนแอ่งน้ำใหญ่ๆ ให้เราค่อยๆ มองหา การ์ดใบอื่นๆ
ที่จะมาช่วยเสริมความสามารถของการ์ดใบที่เราชอบให้ดูโดดเด่นขึ้น หรือ
หาการ์ดใบอื่นๆ ที่ต้องการพลังจากตัวที่เราชอบไปเสริม จากนั้นก็ค่อยๆ
เชื่อมโยงไปเรื่อยๆ ทีละใบ ทีละใบครับ แล้วน้องๆ ก็จะค่อยๆ
เห็นชุดการ์ดของน้องขึ้นมาลางๆ ครับ ว่าเรามีอะไรที่สามารถนำมาเล่นด้วยกันได้บ้าง
แล้วเราก็นำสิ่งที่เราได้มาไปลองทดลองเล่นดูครับ เพราะแน่นอนครับว่า
ป้อมปราการไม่สามารถสร้างเสร็จได้ในคืนเดียว เช่นเดียวกันกับชุดการ์ดที่เก่งๆ
ก็ไม่สามารถจัดเล่นได้ในการจัดเพียงครั้งเดียว ลองเอาไปทดลองหลายๆ ครั้ง
เพื่อให้เราเห็นข้อดีข้อเสีย ค่อยๆ ปรับไปทีละขั้นตอน ค่อยๆ
ให้ความคิดของเราตกผลึกเป็นรูปเป็นร่าง ที่สำคัญคือ อย่ายอมแพ้ครับ การแพ้บ่อยๆ
มันคือประสบการณ์ที่จะช่วยให้เราทราบว่าเรามีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง จนในที่สุด
พี่ชิน เชื่อว่าถ้าน้องไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน
น้องจะได้ชุดการ์ดที่โดดเด่นในแบบของตัวน้องๆ เองแน่นอนครับ
จริงๆ แล้วก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่นักเล่นการ์ดหลายๆ
คน นิยมใช้กัน ก็คือการ คัดลอก ชุดการ์ดของคนเก่งๆ มานั่นเองครับ จริงๆ
แล้ววิธีนี้ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ
เพราะมันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราได้รู้แนวความคิดของคนเล่นเก่งๆ
นั่นเองว่า เขาคิดด้วยมุมมองแบบไหน และ มีแนวทางในการเล่นอย่างไร
เพียงแต่ว่าอยากให้นึกไว้เสมอว่า คนเราทุกคนมีความคิดต่างๆ กันครับ
จริงอยู่ว่าชุดการ์ดนั้นเหมือนกัน แต่รูปแบบการเล่นนั้นย่อมมีจุดที่ต่างกันแน่นอนไม่มากก็น้อย
ดังนั้น คัดลอกมาเล่นได้ครับ แต่อย่าหยุดแค่นั้น ให้หาทางต่อยอดความคิด และ
ปรับปรุงให้ดีมากขึ้น มากขึ้นไปอีกครับ อย่าหยุดเพียงแค่นี้ครับ
เพราะอีกความสนุกของการเล่นเกมการ์ดนั้นก็อยู่ที่การจัดชุดการ์ดของเรานี่เอง
สุดท้ายนี้ก็อยากจะฝากไว้ครับว่า
จงอย่ากลัวที่จะริเริ่มทำอะไร เพราะถ้าเราไม่เริ่มสิ่งใดขึ้นมา
เราก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จครับ
ซึ่งข้อคิดนี้สามารถนำไปใช้ประยุกต์กับชีวิตจริงในอนาคตได้แน่นอนจ้า
“จงอย่ากลัวที่จะเริ่ม
และจงเริ่มโดยปราศจากความกลัว” ไอจิ เซ็นโด
ไม่ได้กล่าวไว้
โดย พี่ชิน
ครับผมไม่เคยชนะ แต่จะชนะให้ได้ dimension robo จงเจริญ!!!
ตอบลบผมจะลองใช้บทความนี้เดกใหม่ดีกว่า
ตอบลบเด็ดผมลีเจี้ยน8ใบเลย555
ตอบลบผมก็ไม่เคยชนะครับ
ตอบลบเเล้วพี่ชินอยู่ที่ไหนครับ