สวัสดีทุกๆ คนอีกเช่นเคยจ้า พี่ชินเองคร้าบ สำหรับในวันนี้เราจะมาดูกันว่า 1 ใน 3 แคลนที่ถูกปิดผนึกไปใน การ์ตูน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค2 หรือ ก็คือแคลน ชาโดว พาลาดิน นั้น จะมีบทบาทในภาค 2 อย่างไรบ้างนั่นเอง แต่ก่อนที่จะมาว่ากัน ก็คงต้องขอย้อนกลับไปดูความยิ่งใหญ่ของแคลน ชาโดว พาลาดิน ในภาค 1 นี้ก่อนจ้า ว่าเขาเคยสร้างปรากฏการณ์อะไรไว้บ้าง
แคลนชาโดว พาลาดิน นั้น เป็นแคลนที่จะปรากฏในช่วง กลางเรื่อง ของการ์ตูน การ์ดไฟท์แวนการ์ด ภาค 1 โดยผู้ใช้คือ สึซึกาโมริ เร็น นั่นเอง โดยการปรากฏตัวครั้งแรกนั้น ได้สร้างความฮือฮามากๆ ให้กับคนที่ดูการ์ตูน หรือ เห็นตัวการ์ด เพราะแคลนนี้ใช้การปรากฏตัวด้วยยูนิตเกรด 2 บลาสเตอร์ดาร์ค นั่นเอง
และแน่นอนว่าด้วยความที่ดูเป็นสายมือ ซึ่งตรงข้ามกับสายสว่างอย่าง บลาสเตอร์เบลด ทำให้ดูมีความเท่ห์อย่างมาก (ตรงนี้ต้องยอมรับคนสร้างจับประเด็นได้ดี เพราะคนเราส่วนใหญ่เวลาเห็นอะไรที่เป็นด้านตรงกันข้ามอย่างสุดขั่ว จะก่อให้เกิดความหลงไหลออกมาเป็นกรณีพิเศษ) ซึ่งแน่นอนว่า ในช่วงที่แคลนนี้วางจำหน่ายครั้งแรก ก็มีคนสนใจและจับแคลนนี้ไปเล่นกันอย่างล้นหลามเลยทีเดียว
สำหรับผู้ที่ใช้แคลนนี้นั้นในภาค 1 จะมี 2 คน คนแรกคือตัว สึซึกาโมริ เร็น และอีกคนคือ เซ็นโด ไอจิ พระเอกของเราที่โดนพลัง ไซควอเรีย เข้าครอบงำ จนตกไปอยู่ด้านมืดนั่นเอง
สไตล์การเล่นของแคลนนี้นั้นต้องบอกว่ามีความคล้ายคลึงกับ แคลนรอยัล พาลาดิน พอสมควร คือมีความสามารถในการเรียกเพื่อนๆ อย่างว่องไว แต่จะมีจุดแตกต่างที่ยูนิต เกรด 3 ที่มีความสามารถในการเร่งพลัง แต่จะต้องชดเชยด้วยการเสียสละพวกพ้องแทน จุดนี้จึงเป็นจุดที่ออกจะตรงกันข้ามกับ รอยัล พาลาดิน ชัดเจนที่สุด
สำหรับแคลนนี้นั้นได้มีการปรากฏตัวครั้งแรกในชุด BT-04 และก็ออกมาตามมาอีกเรื่อยๆ ยกเว้นในภาค 2 ที่โดนปิดผนึกไปทำให้มีเสริมเพียงเล็กน้อยในชุด EB-03 และ BT-09 ก่อนที่จะกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ในภาค3 พร้อมกับชุด TD ประจำตัวนั่นเอง
รายชื่อการ์ดที่มีแคลนชาโดว พาลาดิน ออก (ณ ปัจจุบัน เดือนกันยายน 2557)
Booster Sets:
- Booster Set 4: Eclipse of Illusionary Shadows (22 cards)
- Booster Set 5: Awakening of Twin Blades (8 cards)
- Booster Set 9: Clash of the Knights & Dragons (1 card)
- Booster Set 12: Binding Force of the Black Rings (15 cards)
- Booster Set 15: Infinite Rebirth (16 cards)
Extra Boosters:
- Extra Booster 3: Cavalry of Black Steel (2 cards)
- Extra Booster 11: Requiem at Dusk (36 cards)
Trial Decks:
- Trial Deck 10: Purgatory Revenger (17 cards)
Starter Sets
Fighter's Collection
- Fighter's Collection 2013 (3 cards)
- Fighter's Collection 2014 (2 cards)
ในภาค 1 นั้น ได้มีสายการเล่นของแคลน ชาโดว พาลาดิน ต่างๆ ดังนี้
สาย แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน
สายนี้เป็นสายแรกเริ่มของผู้ที่เล่นแคลนนี้เลยก็ว่าได้ ด้วยความโหดร้ายของ เกรด 3 อย่าง แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน ที่สามารถเร่งพลัง และ คริติคอล ให้กับตัวเองได้ ทำให้ถ้าเล็งใช้ในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่มี PG บนมือแล้วล่ะก็จะเป็นอะไรที่น่ากลัวสุดๆ นอกจากนี้ตัวแคลน ชาโดว พาลาดิน ก็มีความสามารถในการเรียกพวกไว อยู่แล้ว ทำให้ถึงจะใช้สกิลรีไทร์พรรคพวกเพื่อเร่งพลังของ แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน ไป ก็ยังสามารถหาตัวมาเติมได้อย่างรวดเร็วมากๆ อยู่ดี ดังนั้นจึงเป็นสายที่ค่อนข้างจะมีความสมดุลสูงอีกสายหนึ่งเลยทีเดียว
สาย ดาร์ค เมทัล ดราก้อน
สายนี้เป็นสายที่อาจจะไม่ค่อยได้เห็นมากนัก แต่ความเก่งกาจก็ไม่ได้น้อยไปกว่าสายอื่นเลย เพราะยูนิตหลักของแคลนนี้คือ ดาร์ค เมทัล ดราก้อน ที่ทุกครั้งที่ไดรฟ์เช็คได้แคลน ชาโดว พาลาดิน (ซึ่งก็น่าจะเจออยู่แล้ว) จะได้พลังเพิ่ม ทำให้แค่โจมตีเองเพียวๆ ก็เร่งพลังได้ถึง 16000 แล้ว ยิ่งต่อบูสซัก 7000 ขึ้นไปก็สามารถบุกใสฝ่ายตรงข้ามได้อย่างสบายๆ นั่นเอง นอกจากนี้ตัว ดาร์ค เมทัล ดราก้อน นั้นไม่กิน เคาเตอร์บลาสเลย จึงทำให้สามารถใส่ยูนิตซํพพอร์ทอื่นๆ ที่กินเคาเตอร์บลาสได้อย่างเต็มที่ สายนี้จึงเป็นสายชาโดว ที่มีความเป็นรอยัลสูง และไม่เน้นการรีไทร์นั่นเอง
สาย แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด
สุดยอดของสายชาโดว พาลาดิน สาย แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเด็คบอสของภาค 1 ด้วยเช่นกัน โดยสไตล์การเล่นของสายนี้จะเน้นไปที่การ ครอสไรด์ และเรียกพวกอย่างรวดเร็ว โดยที่ตัว แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด นั้นสามารถที่จะไรด์ลงได้เลยถึงแม้ว่าจะไม่เจอร่างแรกก็ตาม เพราะมียูนิตที่ช่วยนำเข้าโซลอย่าง ไนท์แมร์ เพนท์เตอร์ อยู่ ทำให้การครอสไรด์ของแคลนนี้ง่ายกว่าแคลนอื่น (ยกตัวอย่างเช่น ดิเอนด์ ถ้าหลุดครอสไรด์แล้วจะหลุดไปเลยเพราะไม่มีตัวช่วยเอาเข้าโซล) นอกจากนี้ด้วยการที่ครอสไรด์แล้วยืนด้วยพลัง 13000 ทำให้สามารถตั้งรับได้อย่างสบายขึ้นมาก อีกทั้งสกิลของ แฟนธอม บลาสเตอร์ ดราก้อน โอเวอร์ลอร์ด นั้นถ้าเล็งใช้ให้ถูกจังหวะล่ะก็ จะเป็นอะไรที่น่ากลัวสุดๆ นั่นเอง สายนี้จึงเป็นสายหนึ่งที่ได้รับความนิยมเล่นอย่างล้นหลาม อีกทั้งยังคงความแข็งแกร่งเรื่อยมาในภาค 2 แม้จะไม่มีลิมิตเบรกนั่นเอง
แต่เช่นเคยเนื่องจากเนื่องเรื่องในภาค 2 ทำให้แทบจะไม่มีแคลนชาโดวพาลาดินออกมาเลย แต่ก็จะยังพอมีเกรด 3 จากชุด EB-03 ที่พอจะนำมาจัดเพิ่มเติมเป็นสายใหม่ได้ นั่นก็คือ
สาย Origin Mage, Ildona
สายนี้นั้นจะใช้ตัวเกรดอื่นๆ แทบทั้งหมดเป็นยูนิตก่อนหน้านี้ แต่ก็เพียงพอที่จะเล่นเป็นสายใหม่อีก ด้วยความที่ตัว อิลโดน่า เองมีความสามารถในการเร่งพลังและช่วยจั่วทำให้สามารถปรับบอร์ดและเรียกพวกมาตีได้เรื่อยๆ แถมด้วยความที่แคลน ชาโดว พาลาดิน เองก็มีความสามารถในการเติมเกมรุกอยู่แล้ว ทำให้สายนี้มีพลังในการเดินเกมได้ไวมาก มือเยอะ จึงเป็นอีกสายนึงที่น่านำไปเล่นแก้เบื่อในช่วงภาค 2 นั่นเองจ้า
ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นบทบาททั้งหมดของแคลน ชาโดว พาลาดิน ในภาค 2 ก่อนที่จะกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ในภาค 3 ซึ่งขอบอกไว้เลยว่าในภาค 3 นั้นแคลน ชาโดว พาลาดิน จะมียูนิตออกมาเสริมทัพเพียบ สกิลใหม่ๆ ลูกเล่นใหม่ๆ สำหรับสาวกแคลนนี้อดใจรอกันได้เลยจ้า
ขอบคุณที่ติดตามคร้าบ
โดย พี่ชิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น